OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของขอนแก่นเคลื่อนไปข้างหน้า Khonkaen Model Resilience Model After Covid 19

ในวันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 ณ สวนเสียงไผ่ ทาวน์อินทาวน์ เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ผู้บริหาร และนักวิจัย ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ Operations and Promotion Center for Livable Smart City Development (OPSCD) ของวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น COLA KKU ได้รับเชิญจากหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ให้เข้าร่วมการประชุม “กลไกการพัฒนาเมืองและพัฒนาศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในพื้นที่” กิจกรรมการขับคลื่อนการพัฒนาเมืองน่าอยู่ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และตอบตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ (OKR) ที่วางไว้ตามแผน พร้อมร่วมงานเปิดตัว Urban Development Alliance ซึ่งเป็น Academy ตอกย้ำการมีพื้นที่สำหรับการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และกลไกสำหรับการพัฒนาเมืองระหว่างนักวิชาการกับนักปฏิบัติในพื้นที่ โดยรับการสนับสนุนจากพันธมิตรหลากหลายหน่วย อาทิเช่น สกสว. บพท. TCEP, DEPA บริษัทพัฒนาเมือง สมาคมอสังหาริมทรัพย์ สมาคมการผังเมืองแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาล เครือข่ายมหาวิทยาลัย และอื่น ๆ
สำหรับการประชุมนั้น ผู้บริหาร และนักวิจัย OPSCD COLA KKU ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง พร้อมเรียนรู้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และหน่วยงานภาคีเครือข่ายการพัฒนาเมืองถึงกรอบแนวคิด กรอมการดำเนินการภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) “การพัฒนามืองเพื่อกระจายศูนย์กลางความเจริญและลดความเหลื่อมล้ำ” ประจำปีประมาณ 2564 และการพัฒนาเมืองจากฐานทุนวิจัยจากสำนักงานณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว/สกว.เดิม) โดยมีสาระโดยสังเขปดังนี้ “โอกาสหรือภาวะคุกคาม ด้วยงบประมาณกว่า 300,000 ล้านบาทมุ่งสู่การพัฒนาเชิงพื้นที่ ทั้งในระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ด้วยเหตุผลสำคัญ 4 ประการคือ 1.โครงสร้างงบประมาณ 2. มีโครงสร้างความรู้และกำลังคน (คือ การมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่) 3. โครงสร้างระบบบริหารราชการแผ่นดิน (ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และ หน่วยงาน function) และ 4. ภาคประชาสังคม รวมถึงภาคเอกชนและประชาชน แต่ทั้งนี้ต้องก้าวข้ามข้อจำกัดที่ยิ่งใหญ่ คือ 1. การแยกส่วน ไปสู่การบูรณาการ ซึ่งเกิดขึ้นได้ในเชิงพื้นที่ มากกว่าที่จะเกิดจากส่วนกลาง 2. จาก fixed mindset สู่ growth mindset ที่มุ่งทำงานเพื่อส่วนรวมผนวกจิตสำนึกรักท้องถิ่น 3. การขยายผลเชิงการพัฒนาให้ทันเวลา จำต้องใช้การขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้ และระบบ ววน. 4.ใช้ “เมือง” เป็น growth engine ในการพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างงาน (โดยใช้ ก. กลไกการพัฒนาเมือง อาทิเช่น อปท รวมถึง เครือข่ายพัฒนาเมือง ข. ข้อมูลที่ผ่านการ analytic เพื่อให้เห็น pain point ของเมือง ค. แผนการลงทุนและระดมทุนในเมือง และ ง. กลไกในการประสานความร่วมมือ ที่ต้องมี collaboration skills และ trust ที่มีต่อกัน)”
ยิ่งไปกว่านั้นในงาน เปิดตัว Urban Development Alliance ผู้บริหาร และนักวิจัย OPSCD COLA KKU ยังได้นำหนังสือ ไปร่วมเปิดตัวหนังสือ 2 เล่มที่ถอดจากประสบการณ์การทำงาน โดยเล่มที่ 1 คือ กิจการพัฒนาเมืองของไทย: แนวคิด ความหวัง และความพยายาม เขียนโดย ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นายฐาปนา บุญยประวิตร อ.สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย และอ.สุริยานนท์ พลสิม และเล่มที่ 2 คือ คู่มือเพื่อการสร้างกระบวนการพัฒนาเมือง: บทเรียนจากขอนแก่น เขียนโดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ อ.สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย และ อ.สุริยานนท์ พลสิม และได้จัดทำการเผยแพร่เอกสารการวิจัยและวิชาการ เป็น e-book (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์) ผ่าน “คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด ของศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่Operations and Promotion Center for Livable Smart City Development (OPSCD)” https://opcsmartcity.org/ สำหรับให้บริการ กับนักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่สนใจ โดยสามารถเข้าใช้งานได้ทั้งทางออนไลน์ และออฟไลน์บนอุปกรณ์พกพา iOS (iPad/iPhone) Android สามารถสืบค้น อ่าน พิมพ์ และดาวน์โหลดเป็นหน้า หรือทั้งฉบับไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์พกพาเพื่ออ่าน off-line ในภายหลังได้

ในส่วนของจัดบูธในงาน ผู้บริหาร และนักวิจัย OPSCD COLA KKU ยังได้ร่วมจัดบูธ Khonkaen Model Resilience Model After Covid 19 ขอนแก่นเคลื่อนไปข้างหน้าด้วย และได้รับการสนับสนุนจาก ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมอบหมายให้ นายศรัทธา คชพลายุกต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เข้าร่วมงาน และร่วมนำเสนอข้อมูลที่บูธ ร่วมด้วย โดยมีสาระโดยสังเขป คือ

จากภาพบนสุดจะเห็นโมเดลความร่วมมือของจังหวัดขอนแก่นที่ไป ตรงกับตัวแบบการพัฒนาที่เรียกว่า Quintuple Helix Model หมายถึงความร่วมมือจาก 5 ภาคส่วนที่ร่วมกันสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม (รัฐส่วนกลาง/รัฐท้องถิ่น ประชาชน/ประชาสังคม ภาคการศึกษา การสื่อสาร และระบบนิเวศน์ความร่วมมือ) ซึ่งเป็นทุนเดิมของจังหวัดขอนแก่น ที่เคยมีมา เป็นสูตรของการพัฒนาจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทำให้เป็นขอนแก่นโมเดล โมเดลที่มุ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน แก้จน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความโปร่งใส
ถัดมาจะเป็น Time Line ของการพัฒนาที่เคลื่อนตัวมาของขอนแก่น คงสะดุดกับคำว่า ทรัสต์เถื่อน ส่วนนี้แสดงถึงวิธีคิดของขอนแก่นคือความไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมจำนน ต่อสถานการณ์ คือสถานการณ์ตอนปีนั้นเกิดวิกฤติแชร์ล้มในขอนแก่นทั้งเมืองมีปัญหาเรื่องการเงิน ธนาคารพานิชย์ในขอนแก่นไม่ปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจ จึงมีการรวมตัวกันตั้งทรัสต์ขึ้น หรือ พูดง่ายๆตั้งธนาคารโดยคนขอนแก่นรับฝากปล่อยกู้กันเองโดยไม่มีใบอนุญาตเพื่อเสริมสภาพคล่องธุรกิจในจังหวัด และต่อไป ความคืบหน้าจนถึงปีปัจจุบันที่เริ่มมีกลุ่มทุนใหญ่ต่าง ๆให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในจังหวัดขอนแก่น
และถัดลงมาเป็นผลที่เกิดจากขอนแก่นโมเดล 3 ส่วนคือ ทุนการเงิน เทคโนโลยี เศรษฐกิจฐานราก ซึ่งข้างในมีรายละเอียดที่เริ่มทำไปแล้วในแต่ละส่วนล่างสุด จะเห็นเป็นภาพอนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นโดยแสดงเป็นภาพ Snowball Effect ฝั่งขวาเป็นลูกหิมะ 7 ลูกจะเห็นเป็นสิ่งที่จะเกิดในในอีก 17 ปีข้างหน้า ถึงปี2580 ส่วนฝั่งซ้ายคือ Out Come จะเห็นเป็นตัวชี้วัด 3 ตัวของขอนแก่นโมเดลได้แก่ ความโปร่งใสซึ่งต้องพัฒนาดีขึ้น ความยากจนพัฒนาจนหมดคนจน สุดท้ายคือความเท่าเทียมของโอกาสที่เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ นี่คือหลักการของการพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ที่เรียกว่าขอนแก่นโมเดล SDGs, 3 Bottom Line, สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา, Smart City, Covid 19 Resilience Model, Redundant System
อนึ่ง ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ เป็นหน่วยงานภายในสังกัดวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเภทหน่วยงานที่จัดตั้งตามภารกิจเฉพาะหรือตามยุทธศาสตร์ มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (smart city) และด้านการจัดการภาครัฐดิจิทัล (digital governance) ของประเทศไทย ให้บริการวิชาการและฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (smart city) และการจัดการภาครัฐดิจิทัล (digital governance) และเป็นศูนย์การทดสอบเทคโนโลยีและแนวความคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City Testbed: SCT) ก่อนนำไปสู่การปฏิบัติและขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองจริง ยิ่งไปกว่านั้น ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับเมือง จังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยและต่างประเทศด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และแนวทางการจัดหาทุนดำเนินการพัฒนาเมือง