OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของประชุม conference ร่วมระหว่างสำนักงาน ปปช. และทีมวิจัยสหสาขาโครงการประเมินพฤติกรรมของเด็กฯ ผ่านระบบ ZOOM

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นดำเนินโครงการประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต นั้น เพื่อให้การดำเนินการประเมินผลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และการประเมินผลผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา บรรลุเป้าประสงค์ของโครงการประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต ตามโครงการผลักดันหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรฯ เพื่อพัฒนาและขยายผลหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
ในวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ทีมที่ปรึกษาฯ จึงได้จัดการประชุม conference ร่วมระหว่างสำนักงาน ปปช. ซึ่งนำโดย นางสาวชนิดา อาคมวัฒนะ หัวหน้าศูนย์ประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ สำนักงาน ป.ป.ช. และทีมวิจัยสหสาขาโครงการประเมินพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ผ่านระบบ ZOOM โดยในส่วนของทีมที่ปรึกษาฯ นั้นประกอบไปด้วย นักวิจัยจากหลากหลายศาสตร์ หลายสถาบัน ได้แก่ ฝ่ายวิเคราะห์ระบบและพัฒนานโยบายสาธารณะ คือ อ.สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ฝ่ายพัฒนาเครื่องมือ นำโดย ผศ.ดร. จตุภูมิ เขตจัตุรัส สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ อาจารย์สาขาวิชา การวิจัยพฤติกรรมศาสตรประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผศ.ดร.พัชรินทร์ พูลทวี ดร.ณาน เรืองธรรมศิลป์ และทีมวิจัยจากวิทยาการคอมพิวเตอร์ มข.ที่รับผิดชอบการออกแบบและพัฒนาระบบประเมิน machine learning and data analytic ประกอบด้วย ดร.วชิราวุธ ธรรมวิเศษ ฝ่ายอำนวยการและประสานงาน อ.ณรงค์เดช มหาศิริกุล คุณสุภาวดี แก้วคำแสน และคุณภาภรณ์ เรืองวิชา
และด้วย User requirement เป็นความจำเป็นและสำคัญในการทำให้ระบบประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต ที่พัฒนาขึ้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ สาระสำคัญของการประชุมหารือในครั้งนี้ จึงเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการออกแบบระบบประเมิน Tyintregrity ซึ่งเป็น digital platform ในการประเมินกลุ่มเป้าหมายกว่า 150,000 คน พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานเพื่อให้กระบวนการระบบมีประสิทธิภาพและสำคัญยิ่งของความสำเร็จของโครงการ