OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ หน่วยประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทฤษฎี และข้อมูลเชิงประจักษ์ ก่อนนำมาสู่การสร้างเครื่องมือ

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ ประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทฤษฎี และข้อมูลเชิงประจักษ์ ภายหลังจากที่ทีมที่ปรึกษาดำเนินการประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งนำโดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้ลงภาคสนาม เพื่อศึกษาสภาพการณ์ที่เป็นจริงของโรงเรียน และสถานศึกษาแล้ว ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการจัดสนทนากลุ่มครู อาจารย์ ผู้ปกครอง นักเรียน กลุ่มนักเรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความคิด แง่คิด รวมถึงพฤติกรรมเด็กที่พึงมีในการสะท้อนถึงความซื่อสัตย์สุจริตและความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องตามสภาพที่เป็นจริงหรือบริบทของสถานศึกษา ก่อนจะนำมาสู่การดำเนินการสร้างเครื่องมือ เพื่อประเมินผลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต เด็กและเยาวชนที่อยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3,000 แห่ง และประเมินผลผลสัมฤทธิ์การใช้หลักสูตรต้านทุจริต จำนวน 3,000 แห่ง

โดยการประชุมฯ ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองชุมแพ จ.ขอนแก่น นั้น ได้มีการหารือเพื่อคัดเลือก ตัวบ่งชี้พฤติกรมที่ยึดมั่นความชื่อสัตย์สุจริต และ ตัวบ่งชี้การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ครู เด็ก และเยาวชน เพื่อน และผู้ปกครองเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวบ่งชี้ที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยเครื่องมือที่ใช้วัดในแต่ละกลุ่มว่าจะเป็นแบบสอบถาม หรือแบบสังเกต ท่ามกลางการสร้างสถานการณ์หรือการทำฐานจำลอง เป็นต้น และจากการพิจารณาคัดเลือกตัวบ่งชี้ พฤติกรรมสำคัญในแต่ละช่วงวัย ที่ประชุมได้ร่วมกันกลุ่มพฤติกรรม วิธีการที่เหมาะสมในการตรวจสอบพฤติกรรม เพื่อวางแนวทางและกรอบการสร้างเครื่องมือประเมินพฤติกรรมที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริตของเด็กและเยาวชน ต่อไป
อนึ่ง การดำเนินการสร้างเครื่องมือเพื่อประเมินพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนไทยที่ยืดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต จะมีลักษณะสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละกลุ่ม คือ สำหรับเด็กปฐมวัย เครื่องมืออาจจะเป็นแบบสังเกตการตอบคำถามของเด็ก ในขณะที่เครื่องมือในการประเมินนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา อาจจะเป็นแบบสอบถามในการประเมินตนเอง เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะอยู่ภายใต้เป้าประสงค์ ที่ว่า เครื่องมือวิจัยสำหรับประเมินพฤติกรรมที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริตของเด็กและเยาวชนในระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาจะแบ่งตามช่วงชั้นผู้เรียน และเป้าหมายผู้ประเมิน โดยในแต่ละช่วงชั้นของเด็กและเยาวชน (ปฐมวัย ประถมตัน ประถมปลาย มัธยมตัน มัธยมปลาย อุดมศึกษา ปีที่ 1-2 และอุดมศึกษาปีที่ 3-4) จะมีเครื่องมือประเมินพฤติกรรมที่ยึดมั่นความชื่อสัตย์สุจริตของเด็กและเยาวชนช่วงชั้นละ 1 ชุด ในแต่ละชุดมี 4 ฉบับ แยกตาม เป้าหมายผู้ประเมิน ให้เด็กและเยาวชน คือ ฉบับที่ให้เด็กและเยาวชนประเมินตนอง ฉบับครูผู้สอนประเมินให้ ฉบับเพื่อนประเมินให้ และฉบับผู้ปกครอง ประเมินให้เด็กและเยาวชน ตำเนินการสร้างเครื่องมือเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริต และสำหรับแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษานั้น จะเป็นการสร้างเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ การให้คะแนน การแปลความหมาย การแปลผลทั้งรูปแบบเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ และการอ่านค่าผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรด้านทุจริตศึกษาในรูปแบบแผนภาพหรือรูปแบบกราฟต่าง ๆ