ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการเกี่ยวกับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน ชุดหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาสำหรับใช้เป็นเนื้อหามาตรฐานแกนกลางให้สถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาปรับใช้ในการเรียนการสอนให้กับกลุ่มเป้าหมาย ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมา เพื่อให้การขับเคลื่อนมีประสิทธิภาพและเพื่อให้เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมีชอบ (พศ.2561-2580) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงได้กำหนดให้มีการประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริตกับเด็กและเยาวชนในสถานศึกษาที่ได้นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปพิจารณาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในแนวทางต่าง ๆ
ในการประเมินปี พ.ศ. 2563 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นที่ปรึกษาดำเนินการประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยจะต้องดำเนินการประเมินผลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต เด็กและเยาวชนที่อยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3,000 แห่ง และประเมินผลผลสัมฤทธิ์การใช้หลักสูตรต้านทุจริต จำนวน 3,000 แห่ง
โดยในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ จึงได้เข้าพบ นายสุรเดช พิมพ์ชายน้อย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านอ่างศิลา อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น เพื่อหารือถึงการนำหลักสูตรต้านทุจริตมาใช้ ในการจัดการเรียนสอนของโรงเรียน อนึ่ง ทางโรงเรียนบ้านอ่างศิลา ได้นำหลักสูตรต้านทุจริตมาบูรณาการสอน กับทุกระดับที่เปิดสอน คือ ตั้งแต่ระดับ อนุบาล ถึง มัธยมศึกษาตอนต้น แต่ทว่าไม่ได้มีการวัดผล ที่ชัดเจนนัก ซึ่งจะต่างหลักสูตรอื่นที่ผนวกเข้ากับ การสอบ ONET และถูกนำมาผูกโยงกับงานบริหารบุคคล โดยทางโรงเรียนนี้จะมี คู่มือทำความดี แผนการสอน และการจัดระเบียบวินัยภายในโรงเรียน เป็นต้น และจะสังเกตเห็นได้ชัดว่า เด็กที่โรงเรียนนี้ มีพฤติกรรมที่สื่อถึงความสุจริต เช่น ถ้าเก็บของได้จะแจ้งครูประจำชั้นทันที ไม่ขโมยของ เคารพธงชาติอย่างพร้อมเพรียง การเข้าเรียนสม่ำเสมอ การไม่ลอกการบ้านส่งครู เพราะที่นี่ จะใช้วิธีการครูสอนการบ้าน ก่อนกลับบ้านหรือ เพื่อนสอนเพื่อน เพราะสภาพครอบครัวของนักเรียนส่วนใหญ่ จะอยู่กับ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือ พ่อ แม่ แยกทางกัน และไม่สามารถนำพาทำการบ้านได้ ซึ่งจะมีบริบททางกายภาพต่างกับเด็กในเมือง ยิ่งไปกว่านั้น ทีมที่ปรึกษายังได้แง่คิด ข้อเสนอแนะ และมุมมองที่หลากหลาย เช่น เราไม่สามารถเอาเครื่องมือ การสอบ ONET มาวัดมาตรฐานเด็กได้ เพราะ หากให้เด็กในเมืองมาหาปลา คงไม่ถนัดเท่าเด็กในชนบท ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้ทราบถึง การแบกรับค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายของโรงเรียน และการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาตามแผนงานๆ ที่จัดสรรจากค่าจัดการเรียน และงบโรงเรียน ซึ่งภายหลังการพูดคุยทำให้มองเห็นโอกาสในการปรับปรุงท่ามกลางปรากฎการณ์ที่น่าสนใจ ด้วย