ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น Operations and Promotion Center for Livable Smart City Development (OPSCD COLA KKU) ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Korat Smart City จังหวัดนครราชสีมา
ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น Operations and Promotion Center for Livable Smart City Development (OPSCD COLA KKU) พร้อมส่งเสริมวิชาการที่เป็นเลิศด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเสริมสร้างความยั่งยืนในประเทศไทย โดยในวันที่ 11 เมษายน 2565 รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ในฐานะ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยนวัตกรรม โปรแกรมที่ 15 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Korat Smart City จังหวัดนครราชสีมา กับ รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการ บพท. ในนามหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เพื่อร่วมรับฟังการนำเสนอความก้าวหน้าในการขับเคลื่อน โคราชเมืองอัจฉริยะ และการนำเสนอโครงการต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ เพื่อสร้างการรับรู้ และเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือต่อไป ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สำนักงานสถิติจังหวัด สำนักเศรษฐกิจดิจิทัล รองอธิการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มทร. ราชมงคลอีสาน และ UNDP โดยสาระสำคัญส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ KORAT smart city มีเป้าประสงค์ คือเพื่อสร้างการรับรู้ และการยอมรับจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ที่พร้อมจะสนับสนุน จ.นครราชสีมา ให้เป็นเมืองคาร์บอนต่ำ และร่วมสร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นภายในเมือง ด้วยกลไกการประสานความร่วมมือจากทุกฝ่าย อนึ่งการประชุมในครั้งนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ ได้ให้เกียรติเป็นประธานในที่ประชุม และยังได้มีการพูดการจัด “งาน Low carbon city & EV expo 2022 มหกรรมจัดแสดงยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีเมืองคาร์บอนต่ำ” ที่จะขึ้นที่ จ.นครราชสีมา ในเดือนพฤษภาคม 2565 นี้ด้วยว่า งานดังกล่าวจะสร้างแรงกระเพื่อมร่วมขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สร้างการรับรู้สาธารณะ ผ่านความหลากหลายของกิจกรรมเมืองคาร์บอนต่ำและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในทุกมิติ ที่จะช่วยกันขับเคลื่อนเมืองด้วยเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำให้เกิดขึ้นจริง สอดคล้องกับการตั้งเป้าการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และการมุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ