OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ ปิดท้ายกับการจัดทำคลังความรู้ (Knowledge Stock) กับเวทีสาธารณะ Tech Foresight ภาคใต้

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรม ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีทิศทางกับเวทีสาธารณะ “การสังเคราะห์และประเมินสถานการณ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดสู่พื้นที่ ทำให้เกิดนวัตกรรมในการพัฒนาระดับท้องถิ่น ภาคใต้ (การทำ Tech Foresight ภาคใต้) 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับทุนจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ให้ทำการจัดทำคลังความรู้ (Knowledge Stock) ในการพัฒนาพื้นที่ของประเทศไทย จัดทำแผนในการถ่ายทอดความรู้สู่กลไกพัฒนาพื้นที่ รวมถึงจัดทำ Knowledge Roadmap ทางด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมในการพัฒนาพื้นที่ของประเทศไทยในแต่ละภูมิภาค โดยร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ 4แห่ง ใน 4 ภูมิภาค อันได้แก่ 1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ 4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละที่ก็จะทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Node) ในการประสานกับเครือข่ายประชาคมวิจัย ทั้งในสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และชุมชนในแต่ละภูมิภาค เพื่อทำให้เกิดคลังความรู้กลางในการพัฒนาพื้นที่ รวมถึงการจัดทำแผนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลไกพัฒนาพื้นที่

โดยในวันที่ 11 ธันวาคม 2564 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดการประชุมการสังเคราะห์และประเมินสถานการณ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดสู่พื้นที่ฯ เพื่อนำเสนอผลการรวบรวมข้อมูล Knowledge Stock อันประกอบด้วย ข้อมูลนักวิจัย เทคโนโลยีนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาพื้นที่ของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในภาคกลางพร้อมหลักสูตรที่พร้อมถ่ายทอดสู่กลไกการพัฒนาพื้นที่ รวมถึงการจัดลำดับของเทคโนโลยีที่พร้อมใช้ในการพัฒนาพื้นที่ และร่วมกันทำแผนที่นำทางในการพัฒนาความรู้ เทคโนโลยี (Technology Roadmap) ในการพัฒนาภาคใต้ต่อไป ขึ้นผ่านระบบการสัมมนาออนไลน์ ของคณะคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

การจัดเวทีครั้งนี้ รศ.ดร. ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน และกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเวทีสาธารณะ Tech Foresight ภาคใต้ ทั้งในรูปแบบ on-site และ on-lineซึ่งประกอบด้วย  ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเครือข่ายภาคใต้ นักวิชาการ นักวิจัย ปราชญ์ชุมชน ภาคเอกชนในพื้นที่ จำนวน 200 คน จากนั้นยังได้นำเสนอเทคโนโลยีที่พร้อมใช้ในการพัฒนาพื้นที่ ที่ผ่านการคัดเลือกเทคโนโลยีของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเครือข่ายสู่การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ภาคใต้นั้น ถูกจัดลำดับมาถึง 13 อันดับ 7 ด้าน โดย ด้านที่ 1. คือ Smart Living: PSU 5G USE CASES ประกอบด้วย 1) ระบบติดตามและอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยในการทำกายภาพบำบัดผ่านเครือข่ายสื่อสาร สำหรับประโยชน์สาธารณะ) และ 2) 5G Drones and Mobile Robots for Security Surveillance ด้านที่ 2 คือ Smart Industry: Real-time Machine Monitoring คือ ระบบ Machine Monitoring System-MMS ด้านที่ ­3 คือ Smart Living: ระบบจัดการภัยพิบัติ ด้านที่ 4 คือ Smart Industry: PSU 5G USE CASES ประกอบด้วย เครื่องอบแห้งระบบต่อเนื่องสมรรถนะสูงสำหรับแปรรูปอาหารทะเล ด้านที่ 5 คือ SMART Energy: โรงไฟฟ้าพลังน้ำปิยะมิตร  ด้านที่ 6 คือ SMART People: ระบบฟาร์มกัญชาอัจฉริยะ ด้านที่ 7 คือ Engineering TSU: นวัตกรรมเพื่อชุมชน ประกอบด้วย 1. การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบโรงอบแห้งแห้งสาคูต้นพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับพลังงานชีวมวล 2. การพัฒนาหม้อผลิตไอน้ำประสิทธิภาพสูง สำหรับนึ่งก้อนเชื้อเห็ด 3.แผ่นปูพื้นลดการบาดเจ็บผู้ป่วยกายภาพบำบัดและผู้สูงอายุ 4.บรรจุภัณฑ์พิเศษช่วยยืดอายุ เพื่อลดการเน่าเสียของผักและผลไม้ และ 5.เครื่องจ่ายแอลกอฮอล์อัตโนมัติ ขนาดกะทัดรัดใช้ได้ทั้งระบบไฟฟ้าและแบตเตอรี่

ตามต่อด้วย รศ.ดร.ประภาศ เมืองจันทร์บุรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความเป็นเลิศด้านโลหะและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอผลการสำรวจรวบรวมข้อมูล Knowledge Stock หลักสูตรที่พร้อมจะถ่ายทอด (Key Curriculum) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเครือข่ายภาคใต้ สำหรับข้อมูลหลักสูตรที่พร้อมจะถ่ายทอด (Key Curriculum) มีจำนวน 25 หลักสูตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 12 หลักสูตร มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 11 หลักสูตร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีจำนวน 25 หลักสูตร โดยสาระบางส่วนของหลักสูตร ประกอบด้วย การพัฒนาทักษะการเสริมรายได้ชุมชนโดยการปลูกพืชโตเร็วเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลและวัสดุเสริมอาหารสัตว์  การติดตั้งชุดแก๊สชีวภาพสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อประกอบอาหารภายในโรงเรียน   การทำการศึกษาวิจัยแนวทางในการบริหารจัดการปากร่องน้ำบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา  การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มโรงสีข้าวตำบลควนรู  การผลิตและใช้น้ำส้มควันไม้สำหรับแก้ปัญหาโรคพริก  การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้แก่ชุมชน   การสร้างเครื่องหั่นปลาเส้น  และการผลิตภัณฑ์แปรรูปมะพร้าวเพื่อชุมชนทุ่งใหญ่

จากนั้น ผศ.ดร. วัชรวลี ตั้งคุปตานนท์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการเงินและพัสดุ และเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอนวัตกรรมในการพัฒนาระดับท้องถิ่นภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลนักวิจัย โครงการวิจัย ห้องปฏิบัติการ บทความ หนังสือ สิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์วิจัย และ Key Curriculum จากทั้ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยวิลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยเครือข่าย

และปิดท้ายด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำ Technology Roadmap เพื่อการพัฒนาที่ในภาคใต้ เพื่อสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อสร้างแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น  สร้าง TECHNOLOGY ROADMAP เพื่อการพัฒนาที่ในภาคใต้  โดยมีจุดเน้น คือเน้นความยั่งยืนที่เชื่อมโยงกับ BCG (ระบบที่ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม) คือ เกษตรและอาหาร พลังงานและวัสดุ สุขภาพและการแพทย์ และท่องเที่ยวและบริการ

ด้าน รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ  ผู้บริหารโครงการวิจัย “การสังเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อถ่ายทอดสู่พื้นที่ทำให้เกิดนวัตกรรมในการพัฒนาระดับท้องถิ่น (Technology Roadmap & Knowledge Stock)” ยังได้กล่าวเน้นย้ำวัตถุประสงค์โครงการฯ และที่มาของการทำ Tech Foresight ในแต่ละภูมิภาค ในฐานะผู้ประสานความร่วมมือ และสนับสนุนในเชิงโครงสร้าง ด้วย พร้อมกับเน้นย้ำว่า องค์ความรู้ นวัตกรรม ข้อมูลนักวิจัยทั้งในระบบ และในเชิงโครงการทั้งหมดนี้จะถูกรวบรวม ลงสมุดปกเหลืองจัดทำเป็นคลังความรู้ต่อไป และเผยแพร่ที่เว็บไซต์ https://knowledgestock.org/ ต่อไป