OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ การจัดทำคลังความรู้ (Knowledge Stock) กับเวทีสาธารณะ Tech Foresight ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรม ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีทิศทางกับเวทีสาธารณะ “การสังเคราะห์และประเมินสถานการณ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดสู่พื้นที่ ทำให้เกิดนวัตกรรมในการพัฒนาระดับท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (การทำ Tech Foresight ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับทุนจากกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ให้ทำการจัดทำคลังความรู้ (Knowledge Stock) ในการพัฒนาพื้นที่ของประเทศไทย จัดทำแผนในการถ่ายทอดความรู้สู่กลไกพัฒนาพื้นที่ รวมถึงจัดทำ Knowledge Roadmap ทางด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมในการพัฒนาพื้นที่ของประเทศไทยในแต่ละภูมิภาค โดยร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ 4 แห่ง ใน 4ภูมิภาค อันได้แก่ 1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ 4. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละที่ก็จะทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Node) ในการประสานกับเครือข่ายประชาคมวิจัย ทั้งในสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และชุมชนในแต่ละภูมิภาค เพื่อทำให้เกิดคลังความรู้กลางในการพัฒนาพื้นที่ รวมถึงการจัดทำแผนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลไกพัฒนาพื้นที่

โดยในวันที่ 8 ธันวาคม 2564 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดการประชุมการสังเคราะห์และประเมินสถานการณ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดสู่พื้นที่ฯ เพื่อนำเสนอผลการรวบรวมข้อมูล Knowledge Stock อันประกอบด้วย ข้อมูลนักวิจัย เทคโนโลยีนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาพื้นที่ของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในภาคกลางพร้อมหลักสูตรที่พร้อมถ่ายทอดสู่กลไกการพัฒนาพื้นที่ รวมถึงการจัดลำดับของเทคโนโลยีที่พร้อมใช้ในการพัฒนาพื้นที่ และร่วมกันทำแผนที่นำทางในการพัฒนาความรู้ เทคโนโลยี (Technology Roadmap) ในการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป ขึ้น ณ ตึกเพียรวิจิตร ห้องประชุม ชั้น 9 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โดยการจัดเวทีครั้งนี้ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มข. ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน และ รศ.ดร.รัชพล  สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้เกียรติมากล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมเวทีสาธารณะ Tech Foresight ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งในรูปแบบ on-site และ on-line ซึ่งประกอบด้วย  ผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นักวิชาการ นักวิจัย ปราชญ์ชุมชน ภาคเอกชนในพื้นที่ จำนวน 200 คน จากนั้น รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วย บพท. ยังได้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมด้วย พร้อมบรรยายพิเศษ เกี่ยวกับ open knowledge society เพื่อกระตุ้นให้ทีมนักวิจัย มองเห็นว่าเราจะดึงเอาความรู้เฉพาะที่มีด้วยกลไกข้อมูลกลางอย่างไร ภายใต้แผนงานวิจัย ที่ว่า “ถ้างบประมาณ หรือทรัพยากรเรามีจำกัด เราจะทำอย่างไรกันดี” พร้อมมองต่อร่วมกันว่า เราจะเชิญทุกคนมาเป็นผู้ใช้ “ความรู้ที่มีอยู่ใน knowledge stock อย่างไร” และส่งมอบองค์ความรู้เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยต่อไปอย่างไร 

สำหรับ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ  ผู้บริหารโครงการวิจัย “การสังเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อถ่ายทอดสู่พื้นที่ทำให้เกิดนวัตกรรมในการพัฒนาระดับท้องถิ่น (Technology Roadmap & Knowledge Stock)” นั้น ได้กล่าววัตถุประสงค์โครงการฯ และที่มาของการทำ Tech Foresight ในแต่ละภูมิภาค ในฐานะผู้ประสานความร่วมมือ และสนับสนุนในเชิงโครงสร้าง ตามต่อด้วย รศ.ดร.รัชพล  สันติวรากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะ นำเสนอผลการสำรวจรวบรวมข้อมูล Knowledge Stock อันได้แก่ นวัตกรรมในการพัฒนาระดับท้องถิ่น ข้อมูลหลักสูตรที่พร้อมจะถ่ายทอด (Key Curriculum) รวมถึงแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่องค์กรปกครองท้องถิ่นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สำหรับการนำเสนอเทคโนโลยีที่พร้อมใช้ในการพัฒนาพื้นที่ ที่ผ่านการคัดเลือกเทคโนโลยีของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเครือข่ายสู่การใช้ประโยชน์ของพื้นที่             ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ถูกจัดลำดับมาถึง 14 อันดับ และถูกแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 คือ พลังงานและสิ่งแวดล้อม (Energy & Environment) ประกอบด้วย

1. นวัตกรรมระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนรวมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ 2. เครื่องผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวล

ด้านที่ 2 คือ สมาร์ทเทคโนโลยี (Smart technology) คือ 3. โปรแกรมตรวจจับการฝืนสัญญาณไฟแดงและการสวมหมวกนิรภัยโดยใช้กล้องวงจรปิด 4. การประเมินปริมาณของเมล็ดข้าวในภาพถ่าย โดยใช้เทคนิคประมวลผลภาพ 5. ระบบ smart EMS เพื่อเป็นระบบเตือนด้านความปลอดภัยให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ6. ตู้ตรวจสุขภาพอัจฉริยะ “สุขศาลา”  7 .รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะร่วมกับสถานีซาร์จแบตเตอรี่แบบ Swap เพื่อใช้ในหน่วยงานรักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 8. แอปพลิเคชันบริหารจัดการคิวรถตัดอ้อย  9. นวัดกรรมการสร้างเครื่องกำจัดสาทร่ายและตะไครในแหล่งน้ำด้วย คลีนเสียงความถี่สูง 

และด้านที่ 3 คือ นวัตกรรม เครื่องจักร ( Innovation and machinery) คือ 10. เรือเก็บขยะอัตโนมัติ  1 1. เครื่องอบมันเส้นแบบสายพานลำเสียงต่อเนื่องชนิดหลายสถานะการอบ 12. โตรนวัดความหวานในไร่อ้อย  13. ระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติ-ปลูกพืชในโรงเรือน และ 14. เสื้อเกาะรังไหมกันกระสุน ซึ่งองค์ความรู้ นวัตกรรม ข้อมูลนักวิจัยทั้งในระบบ และในเชิงโครงการทั้งหมดนี้จะถูกรวบรวม ลงสมุดปกเหลืองจัดทำเป็นคลังความรู้ต่อไป และเผยแพร่ที่เว็บไซต์ https://knowledgestock.org/ 

ในส่วนของข้อมูลหลักสูตรที่พร้อมจะถ่ายทอด (Key Curriculum) นั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้นำเสนอถึง 10 หลักสูตร คือ 1. หลักสูตรการจัดการจราจรเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน 2. หลักสูตรจัดการขยะมูลฝอยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. หลักสูตรอบรมนักบินโดรนในภาคการเกษตร 4. หลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการผลิตพืชด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ 5. หลักสูตรการแปรรูปพลังงานจากชีวมวลเพื่อลดการเผาวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร 6. หลักสูตรการออกแบบและสร้างกังหันน้ำแบบหัวน้ำต่ำเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า 7. หลักสูตรการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ในการจัดการด้านจราจรเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน 8. หลักสูตรการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการจัดการทรัพยากรน้ำ 9. หลักสูตรการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ และ 10. หลักสูตรการผลิตน้ำประปาชุมชนและจัดการระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน อนึ่ง ในการนำเสนอผลงานเทคโนโลยีที่พร้อมใช้ในการพัฒนาพื้นที่ และนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอดสู่การพัฒนาพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ได้มี ดร.จักรพงศ์ พงศ์ธไนศวรรย์ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มาสรุปและสะท้อนผลการสังเคราะห์และประเมินสถานการณ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อจัดทำ Technology Roadmap เพื่อถ่ายทอดสู่พื้นที่ ทำให้เกิดนวัตกรรมในการพัฒนาระดับท้องถิ่นภาคเหนือ ด้วย