OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ “เดินหน้าไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” กับ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการร้อยแก่นสารสินธุ์หลัง Covid-19 (New Ways of Doing Things) (วันที่ 2)

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการร้อยแก่นสารสินธุ์หลัง Covid-19 (New Ways Of Doing Things)สร้างความเข้มแข็ง โดยเชื่อมภายในสู่ภายนอกพร้อมเน้นย้ำกระบวนการ “เดินหน้าไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (วันที่ 2)

วันที่ 22 กันยายน 2564 (ช่วงเช้า) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และหน่วยบริหารและจัดหารทุนเพื่อการพัฒนารับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการศึกษาจังหวัดขอนแก่นครบ 200 ปี ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการร้อยแก่นสารสินธุ์หลัง Covid-19 (New Ways of Doing Things) ณ โรงแรมอวานีขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และในรูปแบบOnline ผ่านระบบการประชุมทางไกล Zoom cloud Meetings โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ มูลนิธิการศึกษาเพื่อพัฒนาขอนแก่นครบ 200 ปี และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น  กล่าวเปิดพิธีและร่วมสานเสวนากับรศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในหัวข้อ “Citizen Science ศาสตร์ในการเรียนรู้ประชาชน กระบวนการคิดเชิงออกแบบนวัตกรรมในการพัฒนานวัตกรรมของกลุ่มจังหวัด” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สร้างวิสัยทัศน์ให้เกิดแนวคิด Design Thinkingเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและการวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสามารถระบุประเด็นปัญหาในการพัฒนากลุ่มจังหวัด

จากนั้นในช่วงบ่ายได้รับเกียรติจาก ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และในฐานะนักวิจัยศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการดำเนินกิจกรรมแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ“การวิเคราะห์อนาคตเชิงประวัติศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด” โดยได้มีการมอบหมายคำถามในหัวข้อ “สิ่งใดที่ท่านต้องการให้เกิดขึ้นในจังหวัดของท่าน” และให้ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการร้อยแก่นสารสินธุ์หลัง Covid-19 (New Ways of Doing Things) นำโจทย์ที่ได้กลับไปวิเคราะห์เพื่อทราบความต้องการในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยให้ผู้เข้าร่วมจากห้องประชุม และผู้ร่วมในรูปแบบ Online ผ่านระบบการประชุมทางไกล Zoom cloud Meetingsร่วมนำเสนอในวันที่ 23 กันยายน 2564