ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการร้อยแก่นสารสินธุ์หลัง Covid-19 (New Ways Of Doing Things)สร้างความเข้มแข็ง โดยเชื่อมภายในสู่ภายนอกพร้อมเน้นย้ำกระบวนการ “เดินหน้าไปด้วยกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” (วันที่ 1)
วันที่ 21 กันยายน 2564 (ช่วงเช้า) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และหน่วยบริหารและจัดหารทุนเพื่อการพัฒนารับพื้นที่ ( บพท. ) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อการศึกษาจังหวัดขอนแก่นครบ 200 ปี ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการร้อยแก่นสารสินธุ์หลังCovid-19 (New Ways of Doing Things) ณ โรงแรมอวานีขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และในรูปแบบ Online ผ่านระบบการประชุมทางไกล Zoom cloud Meetings ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวคิด ผนวกกับเปลี่ยนวิกฤต Covid-19ให้เป็นโอกาส เพื่อกำหนดหมุดหมายใหม่ สร้างจังหวัดเป็นจุดคานงัดของประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจาก ดร. สีลาภรณ์ บัวสาย กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ได้กล่าวในหัวข้อ “จังหวัด: จุดคานงัด ของประเทศไทย” นายจาดุร อภิชาตบุตร ประธานคณะกรรมการพิจารณาติดตาม และประเมินผลแผนงานริเริ่มสำคัญ “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” ภายใต้โปรแกรมที่ 15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้กล่าวในหัวข้อ “แนวโน้มโลก (Mega Trends) ผนวกกับ Covid-19 โอกาสในการกำหนดหมุดหมายใหม่ของประเทศไทย”
ในช่วงบ่าย ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น หัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง นายธัญญวัฒน์ ชาญพินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายชนาส ชัชวาลวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด และนายประยูร ศิริวรรณ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมสานเสวนาในหัวข้อ “หมุดหมายใหม่ของกลุ่มจังหวัด” ลำดับต่อมา รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ มูลนิธิการศึกษาเพื่อพัฒนาขอนแก่นครบ 200 ปี และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวในหัวข้อ “ทักษะใหม่ในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในยุค VUCA World” 1.กรอบความคิด (Mind Set) ที่จำเป็นสำหรับผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Growth Mindset) 2.ทักษะในการทำงานตามแนวคิดการจัดการปกครองแบบร่วมไม้ร่วมมือ (Collaborative Governance) และการจัดการแบบเครือข่าย (Network Management) 3.การนำแนวคิด Agile Management มาใช้ในภาครัฐ จากนั้นได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการร้อยแก่นสารสินธุ์หลัง Covid-19 (New Ways of Doing Things) ทั้งผู้เข้าร่วมจากห้องประชุม และผู้ร่วมประชุมจากในรูปแบบ Online ผ่านระบบการประชุมทางไกล Zoom cloud Meetings ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “บทบาทของกลุ่มจังหวัดและหน่วยงาน” เพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาที่พบพร้อมเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาใน 4 จังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์