OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 1 เล็งเห็นถึงประสิทธิภาพและประโยชน์ของ “ระบบ Thai Youth Integrity” ส่งสถานศึกษาในสังกัด เข้าร่วมระบบประเมินฯ จำนวนถึง 143 แห่ง

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 1 เล็งเห็นประสิทธิภาพและประโยชน์ของ “ระบบ Thai Youth Integrity” แจ้งความประสงค์ขอให้สถานศึกษาในสังกัด จำนวน 143 แห่ง เข้าร่วมในการใช้ระบบการประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

ปัจจุบันมีเครื่องมือการสำรวจ แบบฟอร์มการสำรวจ แบบประเมินองค์ความรู้ หรือแม้กระทั่งแบบประเมินพฤติกรรมต่าง ๆ อยู่มากมายและหลากหลาย ยิ่งไปกว่านั้นเครื่องมือการสำรวจเหล่านั้นยังสามารถนำมาต่อยอดได้มากมายมหาศาล แต่หลายครั้งที่เครื่องมือการสำรวจดี ๆ กลับเข้าถึงยาก หรือมีข้อจำกัดในการเข้าถึง ไม่สามารถนำมาปรับใช้กับการสำรวจ ในบางสถานการณ์ได้จริง หรือแปลงให้เป็นเครื่องมือการสำรวจที่ยืดหยุ่นขึ้นมาได้จากปัจจัยหลาย ๆ อย่างด้วยกัน 

และด้วยข้อจำกัดข้างต้น ผนวกกับบทบาทและหน้าที่ของที่ปรึกษาโครงการ “การติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา” ที่จะต้อง ติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ที่หน่วยงานต่าง ๆ นำไปปรับใช้นั้น ว่ามีผลสัมฤทธิ์มากน้อยเพียงใด ปัญหาอุปสรรค รวมถึงให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 ที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาขึ้น ทีมที่ปรึกษาจึงได้ร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบประเมินพฤติกรรมเด็ก ที่เรียกว่า “ระบบ Thai Youth Integrity” ให้ใช้ประโยชน์ได้จริง ผ่านระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม หรือ TYIntegrityProject และสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้

อนึ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 1 ได้เล็งเห็นประสิทธิภาพและประโยชน์ของ “ระบบ Thai Youth Integrity” จึงได้แจ้งความประสงค์ขอให้สถานศึกษาในสังกัด จำนวน 143 แห่ง เข้าร่วมในการใช้ระบบการประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในครั้งนี้  ซึ่งเป็นระบบภายใต้โครงการวิจัยประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยมี รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ เป็นหัวหน้าโครงการฯ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 4 มิถุนายน 2564 – 9 ธันวาคม 2564 

ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้เปิดพื้นที่ให้กับ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยนักวิจัยหลากหลายสาขา อาทิเช่น ด้านออกแบบและพัฒนาระบบประเมินพฤติกรรมเด็ก อ.ดร.วชิราวุธ ธรรมวิเศษ  ด้านจิตวิทยาสังคมปฎิสัมพันธ์มนุษย์กับ-คอมพิวเตอร์การจัดการสาธารณะ โดย อ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ด้านวิจัยการศึกษาวัดและประเมินผล โดย รศ.ดร.สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์  รศ.วิลาวรรณ พันธุ์พฤกษ์  ผศ.ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส ด้านสังคมศาสตร์ สถิติ รัฐประศาสนศาสตร์ โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ได้ร่วมกันชี้แจง ตอบข้อคำถามเกี่ยวกับ การประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ซึ่งประกอบด้วย กรอบในการประเมินและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา  กลุ่มเป้าหมายในการประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา กำหนดการในการประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา การใช้งานระบบ Thai Youth Integrity เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และปิดท้ายด้วย บทบาทของสถาบันการศึกษา บทบาทของผู้บริหาร บทบาทของผู้ประสานงานในการประเมินผ่านระบบ TYintegrity ในกิจกรรมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนสุจริต และการขับเคลื่อนการประเมินผลสัมฤทธิ์ หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 1 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล