ผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนปัญหาด้านสาธารณสุขพื้นฐาน และปัญหายาเสพติด สวัสดิการเด็กขาดสารอาหาร ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายยาเสพติดและแอลกอฮอร์ ในระดับประเทศ
กล่าวถึง ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ว่าเป็นปัญหาเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น โดยปัญหาที่เกิดขึ้นมีที่มาจากปัจจัยทางสังคม ที่ทำให้คนในพื้นที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรม และความเท่าเทียมจากภาครัฐ ซึ่งในกรณีนี้ แนวทางในการแก้ปัญหา คือรัฐควรจัดสวัสดิการให้ครอบคลุม ทั่วถึง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และเยียวยาความรู้สึกไม่เท่าเทียมของคนในพื้นที่
คุณศราวุธ ศรีวรรณยศ ตัวแทนจากองค์กรศาสนา อดีตกรรมาธิการภาคใต้/ อิหม่ามมัสยิดต้นสน/ที่ปรึกษากฎหมายบริษัทเอกชน ให้ความเห็นเกี่ยวกับ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นว่า มีที่มาจากการไม่ยอมรับในความแตกต่าง และการที่รัฐไม่เข้าใจในบริบทของพื้นที่ ตลอดจนความเชื่อ ศาสนา และวิถีชีวิต ส่งผลให้เกิดการเลือกปฎิบัติ ก่อให้เกิดคววามไม่่เท่าเทียม จนรพัฒนากลายเป็นความขัดแย้ง
จากการเสวนา สรุปได้ว่า การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเดินไปข้างหน้า และความร่วมมือ ระหว่างรัฐ เอกชน และองค์กรศาสนา เพื่อพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม มีดังนี้
- พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้มีศักยภาพสูง และเอื้อต่อการทำธุรกิจ เนื่องจากเป็น closed economy system ไม่ได้มีรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวเป็นหลัก ดังนั้น การพัฒนาด้านธุรกิจเห็นว่าควรพัฒนาที่ Skill ของแรงงานในพื้นที่ในด้านอุตสาหกรรมอาหารเป็นหลัก เนื่องจากในปัจจุบันแรงงานเหล่านี้ ส่วนใหญ่ไปทำงานในร้านอาหารที่ประเทศมาเลเซีย โดยเข้าไปเป็นแรงงานผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก เพราะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้มีอาชีพรองรับน้อย ทำให้ไม่มีทางเลือก ซึ่งหากรัฐสามารถนำแรงงานเหล่านี้มาเพิ่มทักษะเราจะได้แรงงานที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อตอบสนองธุรกิจด้านอุตสาหกรรมอาหาร ตลอดจนลดปัญหาแรงงานผิดกฎหมายอีกด้วย
- อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยผลักดันให้เป็นเมืองหลักในการท่องเที่ยวเนื่องจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้มีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม และมีวัฒนธรรมที่เก่าแก่ และน่าสนใจ ตลอดจนมีผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูง
- ธุรกิจที่เหมาะสม ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ต้องเป็นธุรกิจที่เป็นมิตรต่อวัฒนธรรม ศาสนา และวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนในพื้นที่ หรือ ธุรกิจที่มีความเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่
ทั้งนี้ ในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ 3 ชายแดนใต้ จะต้องตะหนักถึงเรื่องต่อไปนี้ เป็นหลักสำคัญในการพิจารณา
- ต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ เพื่อลดความเหลี่ยมล้ำ ความไม่เท่าเทียม อันเป็นบ่อเกิดของความเกลียดชัง และความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
- การสร้างรากฐานทางสังคม กล่าวคือ อาจจะมีการตั้งสถาบันเป็นสื่อกลางในการพูดคุย ให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนความเห็น ที่มีผลทางปัญญาและความเชื่อและแสดงออกถึงความใส่ใจในการแก้ปัญหาของภาครัฐ
- การพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในพื้นที่รัฐส่วนกลางต้องเชื่อมโยงกับหน่วยงานของท้องถิ่นที่มีหน้าที่ด้วย เพื่อจะได้ทราบถึงบริบทของพื้นที่อย่างแท้จริง
- รัฐที่ดี ไม่ควรใช้อำนาจมาก ควรอยู่ในฐานะเป็นผู้คอยสนับสนุน
- และรัฐไทย ต้องใจกว้าง ยอมรับในความแตกต่างและให้ความสำคัญกับประชาชนในพื้นที่ 3 ชายแดนใต้อย่างเท่าเทียม โดยไม่เลือกปฎิบัติ