PSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของเป้าหมายเดียวกัน คือ แก้จน ลดความเหลื่อมล้ำ ด้วยการประสานความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ในลักษณะ Quintuple Helix Model บนฐานของ”ทุนชุมชน” เสริมต่อด้วยนวัตกรรม

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วของประเทศ  ร่วมสนับสนุน Khon kaen Smart City ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน พร้อมตอบสนองนโยบายไทยแลนต์ 4.0 และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 20 ปี ด้วยการขับเคลื่อนแนวทางการแก้ปัญหาความยากจน ผ่านโครงการ “คู่เสี่ยว เกี่ยวก้อย แก้จนคนขอนแก่น”

          ภาคีเครือข่ายหนึ่งที่สำคัญที่จะร่วมในการดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วของประเทศ (U2T-27team) คือ จังหวัดขอนแก่น โดย นายศรัทธา คชพลายุกต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น  ซึ่งมีนโยบายมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนจากการสร้าง สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนและทรัพยากรรมชาติสามารถพัฒนาร่วมกันอย่างเกื้อกูล สมดุลและยั่งยืน พร้อมทั้งตอบสนองยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาล และการพัฒนาสู่เมือง Khon kaen Smart City  โดยในวันนี้ 15 กุมภาพันธ์ 2564 นายศรัทธา คชพลายุกต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น  ได้นำ ผอ.ฝ่ายยุทธศาสตร์ และคณะทำงานจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดขอนแก่น หารือรูปแบบการทำงานร่วมกันกับ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้รับผิดชอบ โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วของประเทศ (U2T-27team) วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น  และอาจารย์สาขาวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการดำเนินงาน โครงการคู่เสี่ยว เกี่ยวก้อย แก้จนคนขอนแก่น

          โดยประเด็นในการหารือวันนี้ คือ การกำหนดเป้าหมายและแผนการทำงานร่วมกัน อาทิเช่น การเชื่อมโยงข้อมูลของสำนักงานพัฒนาชุมชนกับโครงการ พร้อมร่วมค้นหาสินทรัพย์เพื่อการทำมาหากิน ด้วยการส่งมอบผู้ร่วมโครงการ U2T-27team ให้เป็นส่วนหนึ่งในระบบกลไกวิชาการของทางจังหวัด โดยจะช่วยงานถอดบทเรียนเอกสาร family profile ใน 12 พื้นที่ตำบล ในจังหวัดขอนแก่น พร้อมร่วมค้นหาสินทรัพย์เพื่อการทำมาหากิน และสร้างการรับรู้ในการขับเคลื่อนงาน “คู่เสี่ยว เกี่ยวก้อยแก้จน คนขอนแก่น”ภายใต้ concept การขับเคลื่อนคนใน2ลักษณะ คือ “จน”เพราะขาดโอกาส หรือ เพราะ”ตัด”โอกาสเอง โดยการนำหลักสูตร “ ขอนแก่นศึกษา” ที่ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ กำลังดำเนินการอยู่นี้ มาประสานความร่วมมือ สื่อสารทำความเข้าใจ กับกลุ่มเป้าหมาย ลดปัญหา ที่ว่า “ลงไปด้วยใจ แต่เกี่ยวก้อยไม่เป็น” และให้มองเห็นเป้าหมายร่วมกันว่า หากจะช่วยลดการขาดโอกาส คือ จังหวัดจะให้โอกาสได้อย่างไร และหากจะช่วยลดการตัดโอกาสนั้น จังหวัดจะช่วยด้วยการสร้างแรงบันดาลใจให้กลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นให้ความสนใจ และไม่นิ่งเฉยต่อการรับความช่วยเหลือได้อย่างไร ตลอดจนการพัฒนาคน ให้เข้าใจในขอนแก่น ทั้งที่อยู่ในส่วนของ Supply และ Demand