หลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) ลงพื้นที่ร่วมสะท้อนผลการเรียนรู้การจัดทำข้อมูลเมือง และสะท้อนผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ ระบบแพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมืองกับเทศบาลตำบลหนองม่วง เทศบาลเมืองตาคลี เทศบาลนครนครสวรรค์ เทศบาลตําบลลาดยาว เทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา
จากการดำเนินงานการพัฒนา“แฟลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง City Digital Data Platform (CDDP) ในโครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ” ที่ทางคณะทำงานหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) และ บริษัท เบดร็อค อนาไลติกส์ ภาคีเครือข่ายทางวิชาการ ได้ร่วมกันพัฒนาจนได้แพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมืองตามบริบทของแต่ละเทศบาล ร่วมสะท้อนผลการเรียนรู้การจัดทำข้อมูลเมือง และสะท้อนผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ ระบบแพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมืองกับเทศบาลที่ได้รับทุนวิจัย
วันที่ 13 – 15 พฤศจิกายน 2566 คณะทำงานหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้ทรงคุณวุฒิหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ผศ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ ที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นนางสาวทองเล็ก ปาตังกะโร เลขานุการมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, นายภัทรพล ขวัญสุด เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
และบริษัท เบดร็อค อนาไลติกส์ จำกัด ร่วมกับภาคีเครือข่ายทางด้านวิชาการ อันประกอบด้วย อาจารย์ ดร.ดำรงพล คำแหงวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, อาจารย์ ดร. พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล ผู้จัดการโครงการมูลนิธิ ฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย (Friedrich Naumann Foundation) ลงพื้นที่เข้าพบเทศบาลตำบลหนองม่วง จังหวัดลพบุรี เทศบาลเมืองตาคลี เทศบาลนครนครสวรรค์ เทศบาลตําบลลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อสะท้อนผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ ระบบแพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมือง
สำหรับวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 คณะได้เดินทาง เข้าพบเทศบาลตำบลหนองม่วง จังหวัดลพบุรี
โดยได้รับการต้อนรับจาก นายกกิติศักดิ์ วัฒนสิงห์ดำรงค์ นายกเทศมนตรีตำบลหนองม่วง และบุคลากรจากเทศบาลตำบลหนองม่วง พร้อมทั้งร่วมสะท้อนผลการเรียนรู้การจัดทำข้อมูลเมือง ด้านสุขภาพอัจฉริยะ และสะท้อนผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ระบบแพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมืองด้านสุขภาพอัจฉริยะ ที่เทศบาลที่ได้รับทุนวิจัย จากนั้นร่วมหารือในประเด็นต่างๆร่วมกัน
จากนั้นช่วงบ่ายวันเดียวกัน (วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566) คณะทำงานได้เดินทางเข้าพบเทศบาลเมืองตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับเกียรติจาก นายกเพลินพิศ ศรีภพ นายกเทศมนตรีเมืองตาคลี และบุคลากรเทศบาลเมืองตาคลี เพื่อที่จะสะท้อนผลการเรียนรู้การจัดทำข้อมูลเมือง ด้านสุขภาพอัจฉริยะ และสะท้อนผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ระบบแพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมืองด้านสุขภาพอัจฉริยะ กับ Smart Takhli กับการบริหารจัดการเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน
วันที่สอง (วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566) ของการลงพื้นร่วมสะท้อนผลการเรียนรู้การจัดทำข้อมูลเมือง และสะท้อนผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ ระบบแพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมือง คือ เทศบาลนครนครสวรรค์
จังหวัดนครสวรรค์ โดยแฟลตฟอร์มที่ทางเทศบาลเลือกทำคือ ระบบแพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมือง ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของพื้นที่ในเขตเทศบาลฯ
ต่อเนื่องพื้นที่อีกพื้นที่ในจังหวัดนครสวรรค์ คือ เทศบาลตําบลลาดยาว โดยมีสาระสำคัญโดยสังเขป คือ การสะท้อนผลการเรียนรู้การจัดทำข้อมูลเมือง และสะท้อนผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ ระบบแพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมืองด้านสุขภาพอัจฉริยะ ที่ได้พัฒนาตามบริบทของเทศบาล
ว่าทางเทศบาลสามารถใช้ประโยชน์อย่างไรบ้างจากแฟลตฟอร์มฯ และแนวทางที่เทศบาลจะพัฒนาต่อยอดไปได้จากการต่อยอดจากแฟลตฟอร์มฯ
วันสุดท้ายของการลงพื้น (วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566) คณะทำงานและที่ปรึกษาทางวิชาการ ได้เข้าพบเทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา เพื่อร่วมสะท้อนผลการเรียนรู้จากการจัดทำแบบฟอร์มข้อมูลเมืองจากคณะทำงานของเทศบาล ว่าระบบของทางเทศบาลมีการใช้งานได้อย่างไรบ้าง และสามารถช่วยในการทำงานของเทศบาลได้อย่างไร
และคณะทำงาน และทีมที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย ผศ.ดร.วชิราวุธ ธรรมวิเศษ, คุณศิวะ รุณวาทย์ ได้ลงพื้นที่เทศบาลนครขอนแก่น ร่วมหารือเกี่ยวกับการสะท้อนผลการเข้าใช้งานระบบแฟลตฟอร์มข้อมูลเมือง ด้านสุขภาพอัจฉริยะ และแนวทางการขยายผลจากแฟลตฟอร์ม
และพื้นที่สุดท้ายในการลงพื้นที่ คือ เทศบาลตำบลดงขุย โดยคณะทำงานได้เข้าพบคณะทำงาน เพื่อติดตามความก้าวหน้าจากการดำเนินการพัฒนาแฟลตฟอร์มฐานข้อมูลเมืองด้านสุขภาพอัจฉริยะ การหารือและสะท้อนผลจากการใช้งานระบบของทางเทศบาล
สำหรับการลงพื้นที่ของผู้ทรงคุณวุฒิ คณะทำงานหลักสูตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส. ) และที่ปรึกษาทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆนั้น เพื่อติดตาม และสะท้อนผลการเรียนรู้การจัดทำข้อมูลเมือง และสะท้อนผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ ระบบแพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมือง และร่วมหารือในประเด็นต่างๆเพื่อสนับสนุนการทำงานของแต่ละเทศบาลอย่างเต็มที่