OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ บพท. และภาคีเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ประเทศไทย จัดนิทรรศการเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่ของคนทุกช่วงวัย “Learning City Days”

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และภาคีเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ประเทศไทย จัดนิทรรศการเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่ของคนทุกช่วงวัย “Learning City Days”

วันที่ 22-23 สิงหาคม 2566 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และภาคีเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ประเทศไทย จัดนิทรรศการเมืองแห่งการเรียนรู้บนพื้นที่ของคนทุกช่วงวัย “Learning City Days” พร้อมจัดเสวนาในหัวข้อต่างๆ ณ บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี กรุงเทพมหานคร สำหรับนิทรรศการนั้น เริ่มโดยการกล่าววัตถุประสงค์ของการจัดงาน โดย รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรมรอง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร และ ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน อันนี้ใจความโดยสังเขปดังนี้ “การจัดงาน Learning City Days ในครั้งนี้เกิดจากการที่หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และภาคีเครือข่ายนักวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกันขับเคลื่อนเมืองจากนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับทิศทางของการพัฒนาประเทศ และเพื่อให้เกิดการยกระดับขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ เกิดการร่วมกันวางทิศทางเชิงนโยบายของการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) กับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จึงจัดงานครั้งนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. แถลงความร่วมมือภาคีเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City Thailand) 2. แถลงผลงานความสำเร็จและข้อค้นพบงานวิจัย “เมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City)” ปีงบประมาณ 2564-2565 และเปิดตัวพื้นที่เมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ปีงบประมาณ 2566 3. สังเคราะห์และยกระดับโจทย์กรอบการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ปีงบประมาณ 2567 และ 4. วางทิศทางเชิงนโยบายของการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้(Learning City) เมืองต้นแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ประเทศไทย ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง”

ตามต่อด้วยการบรรยายพิเศษเรื่อง “บริบทของ UNESCO กับทิศทางการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ประเทศไทย” โดย Ms. Rika Yorozu Head of Executive Office, UNESCO Multisectoral Regional Office in Bangkok (UNESCO Bangkok) และการเปิดเวที “ทิศทางอนาคต การผลักดันเชิงนโยบายการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City)”  อย่างเป็นทางการท่ามกลางความพร้อมเพรียงของแต่ละหน่วยงานในการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ และปิดท้ายช่วงเช้าโดยกล่าวแถลงความร่วมมือและเป้าหมายร่วมของการเมืองแห่งการเรียนรู้ ของผู้ร่วมแถลง ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ และภาคีเครือข่าย

ช่วงบ่ายของวันเดียวกัน เป็นเวทีเสวนาในการสะท้อนข้อค้นพบกลไกและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในการขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้ที่ผ่านมา และแลกเปลี่ยนกลไกการเรียนรู้ระหว่างเมือง การซักถามแลกเปลี่ยน ของนักวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ ปีงบประมาณ 2566 กับตัวแทนจากเมืองแห่งการเรียนรู้ จ.พะเยา จ.เชียงใหม่ จ.ลำปาง จ.ระยอง จ.หาดใหญ่ จ.เลย กรุงเทพมหานคร และจ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ (ฝ่าย 3) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสาระสังเขปคือ ในการเสวนานี้ เพื่อ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลังจากที่นักวิจัยไปขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค ว่ามีกลไกการขับเคลื่อนอย่างไร และเปิดโอกาสให้นักวิจัยแต่ละท่านได้ถ่ายทอดให้รับรู้ว่า “ถ้าจะเดินแบบ short cut หรือ fast track นั้น ต้องทำอย่างไร มีข้อพึงระวังอย่างไร” โดยระหว่างการเสวนามีความเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการมีพื้นที่กลางให้ผู้คนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือพูดคุยกันในประเด็นสำคัญต่างๆ รวมถึงกลไกที่ขยับตัวมีทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมได้หลายส่วน และในส่วนของการขยับเมืองในการเรียนรู้ การขยับเมืองทางจังหวัดนั้นมีจำนวนมาก ทั้งกลุ่มและเขตนั้นก็เช่นกัน การขยับการเรียนรู้ในส่วนของตำบลจะสามารถทำให้ขยับได้ง่ายกว่า และจะสามารแก้ Paint Point ได้ และการพัฒนาคนกับเมืองนั้นคือเรื่องเดียวกัน และเรื่องของการที่แต่ละเมืองเป็นนักประวัติศาสตร์ ชุมชน ใช้มิติทางประวัติศาสตร์ เป็นContent กลาง รวมทุกคนให้พูดคุยกันได้ รวมถึงเรื่องราวของมิติประวัติศาสตร์ การเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เมืองอื่นๆก็อาจจะเชื่อมโยงได้

ภายหลังจากการฟังตัวแทนจากเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมเสวนา ยังมีการร่วมกันเสนอแนะต่างๆ ที่จะช่วยส่วนช่วยในการขับเคลื่อนต่อนั่นเอง มีสาระโดยสังเขปดังนี้ การบริหารความต่างของแต่ละบุคคลคือ Skill set ที่สำคัญ และGlobal value กับ SDG โดยภาคเอกชนมี  ESG เป็นโอกาสที่จะเป็นตัวหลักที่สำคัญให้นักวิชการแต่ละมหาวิทยาลัยกับพื้นที่เชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่สำคัญ และยังเชื่อว่าในระหว่างทางอาจมีผิดพลาดบ้าง ก็ถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน และมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เรียกว่า Learning process ในทุกขั้นตอน

ปิดท้ายการเสวนาการสะท้อนข้อค้นพบกลไกและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในการขับเคลื่อนเมืองการเรียนรู้ที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนกลไกการเรียนรู้ระหว่างเมือง  การซักถามแลกเปลี่ยน ของนักวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ ปีงบประมาณ 2566 กับตัวแทนจากเมืองแห่งการเรียนรู้ทั้ง 8 เมือง รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ (ฝ่าย 3) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และในฐานะผอ.ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วปท.มข. ได้กล่าวสรุปว่า “ในการเสวนาวันนี้ทำให้มองเห็นภาพต่อไป ทั้ง 8 เมืองเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ เป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ที่มีอีกหลายห้องเรียนย่อยๆให้ได้เรียนรู้ คือพลังของการเรียนรู้ร่วมกัน ให้จุดเรียนรู้ที่มีอยู่นั้นกระจายถึงทุกคน ลดจุดของความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสทำให้เมืองแห่งการเรียนรู้ได้ให้โอกาสกับทุกคน สร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างชีวิต”