นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น Operations and Promotion Center for Livable Smart City Development (OPSCD COLA KKU) ร่วมสังเกตการณ์หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 ลงพื้นที่ครั้งที่ 1 สำหรับการออกแบบภาพความสำเร็จในการดำเนินโครงการวิจัยของ “เทศบาลเมืองเสนา และเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี”

ด้วยมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนทุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (FLAGSHIP) “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโต ใหม่” โปรแกรมที่ 15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ ในการจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนา เมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1 เพื่อยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ด้วย กลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศผ่านการปฏิบัติการบนฐานงานวิจัยในประเด็นปฏิบัติการ พัฒนาระบบ และกลไกการนำข้อมูลมาสร้างมูลค่าและคุณค่า เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และการพัฒนาองค์ความรู้ และกลไกการเปลี่ยนแปลงองค์กรกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัลอย่างเหมาะสม โดยในวันที่ 31 มีนาคม 2566 หลักสูตร พมส.1 มีกำหนดการเข้าเยี่ยมและร่วมออกแบบภาพ ความสำเร็จในการดำเนินโครงการวิจัยของเทศบาลเมืองเสนา และเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองเสนา และห้องประชุมเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี ในการนี้ ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น Operations and Promotion Center for Livable Smart City Development (OPSCD COLA KKU) ในฐานะเครือข่ายมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จึงได้ร่วมส่งทีมนักวิจัย อันประกอบด้วย ผศ.ดร. ฌาน ธรรมเรืองสิงห์ และ นายภัทรพล ขวัญสุด ร่วมสังเกตการณ์และเรียนรู้ในกิจกรรมดังกล่าวด้วย

โดย นักวิจัย OPSCD COLA KKU ผศ.ดร. ฌาน ธรรมเรืองสิงห์ ในฐานะที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อีกทั้งเป็นนักวิจัยโครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ และฐานะนักวิจัยศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย ดร. จักรพันธ์ จุลละโพธิบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์เวนเจอร์จำกัด และคณะทำงาน ได้นำพานักวิจัยในโครงการวิจัยของเทศบาลเมืองเสนา และเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี หารือออกแบบภาพความสำเร็จในการดำเนินโครงการวิจัย ของทั้งสองเทศบาล พร้อมทำความเข้าใจกับการสร้างการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมืองเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี” ตามที่มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ร่วมกับ บริษัท AI & Robotics Ventures (ARV) เทศบาลเมืองเสนา และเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี รวมถึงเครือข่ายมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ที่ต่างเล็งเห็นว่าหน่วยงานของตนและภาคีเครือข่าย ต่างมีส่วนเติมเต็ม หนุนเสริมการทำงานร่วมกัน รวมทั้งมีภารกิจ เป้าหมาย ความสนใจ และพันธกิจที่ตรงกัน จึงได้มีการประชุมหารือการดำเนินโครงการวิจัยฯ ในครั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ platform digital ข้อมูลเมือง
ในการดำเนินโครงการวิจัยฯ นั้นถือเป็นการเริ่มต้นความร่วมมือกับพหุเครือข่ายเชิงพื้นที่ แล้วยังถือเป็นโอกาสในการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานผู้รับทุนวิจัย ที่จะได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและเผยแพร่แพลตฟอร์ม digital ข้อมูลเมือง สร้างความเปลี่ยนแปลง โดยใช้ท้องถิ่นเป็นตัวขับเคลื่อน และนำผลจากการศึกษาวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลเมือง มาเป็นส่วนประกอบในการวางแผนติดตามผล และสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของเมือง เพื่อที่จะยกระดับระดับการจัดการให้ทันสมัย สร้างความแม่นยำ ทันต่อสถานการณ์ต่าง ๆ และสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก นำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนเมืองได้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน
สำหรับภาพความสำเร็จในการดำเนินโครงการวิจัยของเทศบาลเมืองเสนา และเทศบาลเมืองสุพรรณบุรีนี้ คือการทำให้เกิดการนำข้อมูลเมืองของพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรีนั้นมายกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ พร้อมจับมือภาคเอกชน ภาคีเครือข่าย ผสมผสานกับความคาดหวังให้เทศบาลสามารถยกระดับและพัฒนาเป็นเมืองแห่ง smart city โดยนำ digital platform หรือเทคโนโลยีเข้ามาเชื่อมโยง แก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ต่อยอดสนับสนุนและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต
หลังการร่วมประชุมหารือการดำเนินโครงการวิจัยฯ ครั้งนี้ นายชัยธวัฒน์ โอภาสสุวรรณ นายกเทศมนตรีเมืองเสนา และนายเอกพันธุ์ อินทร์ใจเอื้อ นายกเทศมนตรีเมืองสุพรรณบุรี ยังได้เน้นย้ำว่าหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ต่างมุ่งหวังผลที่ปฏิบัติได้สามารถให้เกิดการนำข้อมูลเมืองในเขตพื้นที่เป็นพื้นที่ต้นแบบ และถือเป็น show case ที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แก้ไขปัญหา วางแผนติดตามผล เพื่อยกระดับ ตลอดจนบริหารจัดการและพัฒนาเมืองผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมืองขึ้นได้อย่างต่อไป
ในช่วงท้าย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ บพท. และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังได้ให้เกียรติมากล่าวโดยสังเขปปิดท้ายว่า “เชื่อว่าท้องถิ่นคือตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง หากขับเคลื่อนด้วยของดี คนดี และคนดัง หรือสร้างความเชื่อมั่นด้วยนวัตกรรม การยกระดับพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบก็จะเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป”












