OPSCD COLA KKU พันธมิตรการพัฒนาเมือง ร่วมการประชุมบูรณาการโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (FLAGSHIP)” การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่ โปรแกรมที่ 15 พัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ บพท.

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่  วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น OPSCD COLA KKU พันธมิตรการพัฒนาเมือง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในที่ประชุมบูรณาการโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (FLAGSHIP)” การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่ โปรแกรมที่ 15 พัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ  บพท.

            ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่  วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น OPSCD COLA KKU ในฐานะพันธมิตรการพัฒนาเมือง และด้วยในวันที่ 9 มกราคม 2566 โครงการประสานงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมือง ท้องถิ่น และกลไกเติบโตใหม่ RDC ได้กำหนดจัดการประชุมบูรณาการโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น  ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (FLAGSHIP) “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” โปรแกรมที่ 15 พัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ  โดยใช้วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม  ขึ้น  ณ ห้องประชุมมงกุฎเงิน โรงแรมโฆษะ จ.ขอนแก่น  รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่  ในฐานะนักวิจัยประจำหน่วยงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จึงได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ ติดตาม และประเมินชุดโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติทุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา ระดับพื้นที่ (บพท.) ทั้งนี้ได้มีเป้าประสงค์เพื่อร่วมประมวลผลลัพธ์ผลการดำเนินงาน และให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดการยกระดับการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ของ บพท.  และการบูรณาการโครงการวิจัยในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

            โดยในพิธีเปิดการประชุม ได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.ปุ่น  เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วย บพท. กล่าวเปิดกิจกรรม พร้อมกล่าวขอบคุณนักวิจัยที่มาร่วมงาน ซึ่งถือว่าพวกเราที่มาในวันนี้เป็น “กัลยาณมิตรในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เสริมพลังให้กับการเปลี่ยนแปลงของจังหวัดขอนแก่น”

            ด้าน อาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด ได้รับเกียรติให้กล่าว “แนวทางการบูรณาการโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น” โดย อาจารย์สุรเดช ได้เล่าถึงสิ่งที่ขอนแก่นได้ทำไปแล้วที่ไม่ได้จำกัดแค่ขอนแก่นพัฒนาเมืองแต่เป็นการเริ่มแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ทำมาแต่ต้น มีการปรับเปลี่ยนพัฒนามาโดยตลอด ซึ่งรูปแบบที่ทำเป็นลักษณะการบูรณาการระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน และพูดถึง 4 สิ่งสำคัญที่ขอนแก่นได้พบ และได้สร้างอะไรให้กับสังคม อันประกอบด้วย 

1. Impact ระดับประเทศ จากสิ่งที่ขอนแก่นทำ ทำให้เกิดมีบริษัทพัฒนาเมืองในประเทศไทย โดยทั้งประเทศตอนนี้ มีรวมทั้งสิ้น 22 แห่งเกิดการยอมรับและผลักดันในแวดวงข้าราชการ มีการจัดตั้งบริษัทของท้องถิ่นขึ้นมา รวมไปถึงการออกกฎหมายเพื่อเป็นแผนในการปฏิบัติซึ่งลักษณะของกฎหมายจะมีงบและเป็นรูปแบบ bottom up 

2. อุปสรรค สิ่งที่ถือว่าเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเมือง คือคนที่มาใหม่นั้นไม่เข้าใจ ในส่วนภาคเอกชนจะมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่หน้าที่ของเขา จึงจำเป็นจะต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจ ส่วนทางราชการนั้นไม่ต่างกัน ที่จะต้องทำความเข้าใจเพราะแต่ละคนที่ย้ายมาย่อมมีแผนในการพัฒนาแผนในการทำงานของตัวเองที่เขาจะต้องทำ และสร้างภายใต้เวลาที่จำกัดส่งผลให้แผนการพัฒนาเมืองท้องถิ่นถูกชะลอและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งเราจะต้องพูดคุยทำความเข้าใจชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและสิ่งที่เราได้ทำไปว่ามีอะไรไปแล้วบ้าง

3. การอธิบายเรื่องยาก ๆ จากที่ขอนแก่นได้ดำเนินการการพัฒนาเมืองทำให้เราพบว่า สิ่งสำคัญคือการอธิบายจากเรื่องยาก ๆ ให้เข้าใจได้โดยง่ายเป็นสิ่งสำคัญ โดยการอธิบายจะต้องอธิบายให้ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นรัฐเอกชนประชาชนต้องเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน

4. ด้านความยั่งยืน ทางขอนแก่นได้ใช้รูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยยึดกรอบ SDGs ทั้ง 17 เป็นหลัก และได้มีหน่วยงานมาศึกษาดูงานที่จังหวัดขอนแก่น พบว่างบประมาณกระจุกอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่เราไม่ต้องไปแย่งงบประมาณในจุดนั้นกลับกันเราสามารถหารายได้ สร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจเกิดการจ้างงานขึ้นในจังหวัด 

สิ่งที่ขอนแก่นทำไม่ได้เริ่มที่โครงการแต่เริ่มที่โครงสร้างเมื่อเราเริ่มที่โครงสร้างย่อมก่อให้เกิดหลายโครงการตามมา และสิ่งที่ตามมาอย่างเห็นได้ชัด คือ เกิดสิ่งที่เรียกว่า active citizens และสิ่งที่ทำย่อมนำมาซึ่งความภาคภูมิใจและความตระหนักในการเป็นเจ้าของของพวกเราชาวขอนแก่นเอง

รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่  ในฐานะนักวิจัยประจำหน่วยงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่ ได้กล่าวเสริม เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและสิ่งที่ได้จากการพัฒนาเมืองเพื่อให้เกิดความร่วมมือและพูดถึงกลไกการเติบโตใหม่ ด้วยว่ามีกลไกอะไรบ้างเชื่อมโยงได้อย่างไร และจะกระจายสู่ความเจริญเป็นเช่นไร 

พร้อมมี รศ. ดร.ปุ่น  เที่ยงบูรณธรรม เล่าถึงความคาดหวังในการจะพัฒนาเมืองขอนแก่น โดยชี้ว่าขอนแก่นเป็นเมืองหลวง เพราะขอนแก่นเป็นการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมือของประชาชน พร้อมกับอธิบายกลไก 4 ด้านในการพัฒนาเมือง ให้เครือข่ายนักวิจัยร่วมรับทราบ ซึ่งกลไก 4 ด้านมีดังนี้ 

1.กลไกความร่วมมือ เป็นสิ่งที่เราจะต้องพูดคุยกันอยู่เสมอเพื่อให้ทราบถึงจุดแข็งจุดอ่อนในพื้นที่ที่เราอยู่ว่าเป็นเช่นไรเพื่อนำมาซึ่งการร่วมมือกันที่เรียกว่าความร่วมมือใหม่

2.กลไกการเปิดความรู้และการเรียนรู้ภาคประชาชน เมืองที่นับวันจะมีการเติบโตมากยิ่งขึ้นข้อมูลต่างๆเหล่านี้ที่เราบรรดานักวิชาการนักวิจัยศึกษามาจะถูกนำมาเผยแพร่อธิบายให้เข้าใจโดยง่ายให้กับประชาชนพร้อมกับนำมาวางเป็นหมุดหมายในการขับเคลื่อนและตัวข้อมูลเหล่านี้จะนำมาซึ่งการสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาคประชาชน

3.กลไกการเงิน ที่เราต้องเห็นถึงที่มาแนวทางในการหาช่องทางรวมถึงบทบาทของสถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน และในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง เงินจะไม่ใช่ทุกอย่าง แต่สิ่งที่เราลงทุนไป อย่างแรง กำลังคน องค์ความรู้ หรือทรัพยากรในพื้นที่จะนำมาซึ่งมูลค่าให้กับแผ่นดินนี้ 

4.กลไกด้านแผนการพัฒนาขอนแก่น แผนพัฒนายังไม่สามารถเกิดขึ้นได้แต่โครงการต่าง ๆ ที่ได้พูดคุยในวันนี้สามารถจัดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและนำมาซึ่งการปฏิบัติที่เปลี่ยนจากความเป็นนามธรรมมาสู่รูปธรรมได้

ในวันนี้จะเป็นการประสานแต่ละกลไกเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความร่วมมือจากสิ่งที่ต่างคนต่างทำตามความถนัดที่แยกกันอยู่มาอยู่รวมกัน โดยทั้ง 7 โครงการ อันประกอบด้วย 1.“ขอนแก่น : สู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้และยั่งยืน ระยะที่ 2 โดย นายกังวาน เหล่าวิโรจนกุล” 2.“การพัฒนากลไกการเรีนนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเมือง อย่างยั่งยืน โดย นางสุมาลี สุวรรณกร” 3. “สานมิตรภาพ” พัฒนากลไกความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ จังหวัดตามแนวถนนมติรภาพและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคะวันออก เฉียงเหนือ (นครราชสีมา ขอนแกน่ อุดรธานีและหนองคาย) โดย นายเจริญลักษณ์ เพ็ชรประดับ” 4. การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำ อยู่อย่างยั่งยืน กรณี จังหวัดขอนแก่น โดย นายบุญฤทธิ์ พาณิชย์รุ่งเรือง” 5.“การประเมินแหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา” 6.“การสร้างกลไกทางการเงินใหม่เพื่อยกระดับและเพิ่มการกระจายตัวของ เศรษฐกิจสีเขียวในระดับพื้นที่  โดย รศ.ดร.ไกรเลศิ ทวีกุล”  และ 7. “ระบบเทคโนโลยีเพื่อการเสริมสภาพคล่องทางการเงินของผู้ที่ได้รับ ผลกระทบหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโร่นา2019(COVID- 19) โดย นายปัญญา เกิดศักดิ์ ณ แวงน้อย” ได้มาเล่าถึงความเป็นมา การดำเนินการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาว่าทำกิจกรรมอะไรไปแล้วบ้าง มีข้อค้นพบอะไรในการศึกษาครั้งนี้ ปัญหาและอุปสรรคที่พบเป็นเช่นไร รวมถึงสิ่งที่สามารถต่อยอดได้หรือการขยายผลในอนาคต

โดยภายหลังจากที่นักวิจัยโครงการนำเสนอเสร็จ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ได้กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า “สิ่งที่จะต้องเล่าสู่ทีมขับเคลื่อน คือสิ่งที่จะขับเคลื่อน โดยอาศัยผลิตภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้ของขอนแก่นที่จะแสดงพัฒนาการของขอนแก่น ในส่วนการพัฒนาเมืองในแต่ละยุคสมัย ส่วนของ learning cityในระยะที่ 2 ที่จะขยับสู่ 26 อำเภอ ในเชิงของ physical ของดีที่เด่นคนดัง”

            จากนั้น ผู้เชี่ยวชาญจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา ระดับพื้นที่ (บพท.) อันประกอบด้วย นางสาวจันทนา เบญจทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  นายสมประสงค์ พยักฆพันธ์ รองประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีแห่งประเทศไทย  และ ดร.ชลิตา มัธยมบุรุษ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการสำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ได้ร่วมสะท้อนผลทิศทางการวิจัยเชิงพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น ภายหลังโครงการที่ 1.“ขอนแก่น : สู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้และยั่งยืน ระยะที่ 2 โดย นายกังวาน เหล่าวิโรจนกุล” 2.“การพัฒนากลไกการเรีนนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเมือง อย่างยั่งยืน โดย นางสุมาลี สุวรรณกร” 3. “สานมิตรภาพ” พัฒนากลไกความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ จังหวัดตามแนวถนนมติรภาพและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคะวันออก เฉียงเหนือ (นครราชสีมา ขอนแกน่ อุดรธานีและหนองคาย) โดย นายเจริญลักษณ์ เพ็ชรประดับ นำเสนอความก้าวหน้าเสร็จสิ้น ดังนี้

            นายสมประสงค์ พยักฆพันธ์ รองประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีแห่งประเทศไทย “เห็นด้วยกับโครงการพร้อมเล่าถึงกรณีตัวอย่างที่ตนพบเพื่อเป็นการสะท้อน แลกเปลี่ยนต่อกันและชี้ให้เห็นถึงจุดสำคัญในการเขียนแผนพัฒนาอย่างการ convince กลุ่มคน creative agency ที่จะตอบจุดที่เรามีคือความสำเร็จพร้อมกับอยากให้ปรับในส่วนของแนวทางปฏิบัติและภาคปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เช่น การจดสิทธิบัตร การสนับสนุนกลไกผู้ประกอบการ การจัดจ้างอาชีพพิเศษ ที่แปลกใหม่ น่าจะเห็นภาพได้มากขึ้น มาถูกทางแต่ฝากติดตามให้ดูในแต่ละช่วงระยะเวลาของโครงการว่าเป็นเช่นไรหลังจากที่เราได้ actor และ action ลงไป 

            นางสาวจันทนา เบญจทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) “อยากจะเห็น case ที่มากกว่านี้ และฝากในส่วนของ standard ต่าง ๆ ที่จะเชื่อมโยงกับคนอื่น ๆ และอยากให้หยิบสิ่งที่เรามีอย่างหน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัยนำมาช่วยเรา อย่างการจดทรัพย์สินทางปัญญาของ มข.เป็นต้น”

            ดร.ชลิตา มัธยมบุรุษ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการสำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  ขอเพิ่มเติมประเด็นในการใช้ทุนที่มีอยู่ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ การพัฒนาเมืองหรือจะขอนแก่นทศวรรษหน้า แต่อาจจะต่างคนต่างทำมากไปหน่อยและไม่แน่ใจว่าได้มีการเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ในโปรแกรม 15 ของ บพท. ด้วยหรือเปล่าอยากให้เพิ่มเติมในส่วนนี้และอยากให้ชี้ความสัมพันธ์กับแผนจังหวัดขอนแก่น ดังนั้นอยากให้รอบหน้าได้ชี้ให้ชัดว่า บพท.อยู่จุดไหนของขอนแก่น ขอนแก่นอยู่จุดไหนของ บพท. และอีกอันคือการเชื่อมโยงตัววัตถุประสงค์และสิ่งที่เราจะทำ ตัว out put , out come ในแผนให้ชัดเจน เพราะตอนนี้ยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ และกรณีที่มีการไปทำนอกจังหวัดขอนแก่นถือว่าเป็นสิ่งที่ดีแต่มีความกังวลในส่วนของกลไกว่าได้มีการจัดเตรียมไว้เพียงพอไหมสัมพันธ์กับกลไกในพื้นที่หรือไม่ สุดท้ายฝากโครงการแรกในส่วน data ที่จะครอบคลุมและละเอียดพอไหม อย่างด้านข้อมูลร้านค้า ผู้ใช้ เป็นต้น

            ต่อด้วยชุดที่ 2. ของการนำเสนอความก้าวหน้าโครงการที่ 4. การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำ อยู่อย่างยั่งยืน กรณี จังหวัดขอนแก่น โดย นายบุญฤทธิ์ พาณิชย์รุ่งเรือง” 5.“การประเมินแหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาเมือง โดย ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา” 6.“การสร้างกลไกทางการเงินใหม่เพื่อยกระดับและเพิ่มการกระจายตัวของ เศรษฐกิจสีเขียวในระดับพื้นที่  โดย รศ.ดร.ไกรเลศิ ทวีกุล”  และ 7. “ระบบเทคโนโลยีเพื่อการเสริมสภาพคล่องทางการเงินของผู้ที่ได้รับ ผลกระทบหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโร่นา2019(COVID- 19) โดย นายปัญญา เกิดศักดิ์ ณ แวงน้อย”

โดย นายสมประสงค์ พยักฆพันธ์ รองประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีแห่งประเทศไทย ได้สะท้อนว่า “บางโครงการถ้าได้โมเดลเป็นรูปธรรมสามารถไปต่อยอดพัฒนาตัวกองทุนหมู่บ้านได้ เรื่องนี้ถือเป็นรากฐานประเทศเธอเป็นเรื่องที่ดีเป็นกำลังใจให้นะครับ แต่ใน process กังวลในด้านการอธิบายให้คนที่ไม่รู้เรื่องนั้นจะลำบาก ซึ่งเราจะต้องใช้กลไกในการเปลี่ยนข้อมูลมาอธิบายให้กับคนที่ไม่เข้าใจงานเราให้เขาเกิดความเข้าใจและเราสามารถทำงานต่อไปได้ และยิ่งเราทำประเด็นเกี่ยวกับคนจนคนไม่มีเงินให้คนเหล่านี้เขาไปทำงานจึงเป็นสิ่งที่น่ากังวลในการจะสื่อสารให้เขาเข้าใจ แต่ในจุดที่เราทำให้คนมองว่าเราไม่ take over คือการนำเงินจากผู้ที่สนใจหรือผู้มีจิตอาสามาส่งเสริมต่อยอดเป็นกองทุนกับสู่สาธารณะชนได้อย่างไรซึ่งสิ่งที่ทำอยู่เป็นกันขยับกลไกไฟแนนซ์แบบใหม่ที่ไม่ต้องไปขออนุมัติ และงานเหล่านี้ถือว่าเป็นงานวิจัยที่เกิดกลไกสาธารณชนอยากให้เน้นกรอบในจุดนี้และทั้งหมดนี้เป็นการสะท้อนเพื่อให้กรอบมันชัดขึ้น สิ่งหนึ่งที่ผมชอบมากคือการไล่จากเมืองลงมาเริ่มต้นจากไฟแนนซ์มาจับกับวิสาหกิจชุมชน ซึ่งน่ากังวลในส่วนที่เป็นทุนขอมาโดยงานวิจัยเราเป็นงานเชิงพัฒนาอย่างการพัฒนา SME ที่เราพัฒนามานานแต่ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยเพราะไม่มีตัวที่จะให้ทำงาน และเมื่อมาเกี่ยวข้องกับ บพท. ควรจะเสริมด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้าไปด้วยอย่างกรณีด้านเกษตรทำแล้วเราควรที่จะองค์ความรู้ มีนวัตกรรมเพื่อต่อยอด สามารถจดสิทธิบัตรได้เสริมเติมพลังให้กับเขาเติมองค์ความรู้ใหม่ให้กับกลุ่มเกษตรกร เป็นต้น”

ด้าน นางสาวจันทนา เบญจทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าวเสริมว่า “อยากให้ทำ แล้วถอดเป็นชุดการทำงานจากงานวิจัยสู่การทำงานจริงในรูปแบบทำได้อย่างง่ายเพราะจะช่วยเสริมเพิ่มเติมพลังด้านการเงินไทยได้ ส่วนด้าน smart farmer ยังไม่เห็นถึงการขยายให้เขาเจริญเติบโตถ้าทำได้จะดีมากและจะเสริมพลังให้กับ young smart และด้าน Low Carbon เน้นย้ำไปที่การพูดคุยหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นการทำ solar roof การปลูกป่าในเมืองสร้างป่าชุมชนซึ่งถือว่าเป็นโครงการดีทั้งนั้นแต่จะทำอย่างไรให้ตอบโจทย์คนมากที่สุด.

พร้อมกันนี้ในช่วงท้ายของกิจกรรม ยังได้เปิดให้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนวิเคราะห์การบูรณาการเชิงพื้นที่ขอนแก่นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วย อาทิ ฝ่ายยุทธศาสตร์จังหวัด ได้สะท้อนว่า  “ณ ตอนนี้ได้มีการบรรจุไว้ในแผนและโครงการทั้ง 7 สามารถปรับและรองรับกันได้”

ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด

“ถือเป็นโครงการที่ดีทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนกันได้ทุกคนร่วมมือกัน”

เทศบาลนครขอนแก่น 

“ปัจจัยสำคัญ คือการชี้สะท้อนให้เห็นว่าไม่ทำแล้วจะเสียผลประโยชน์อะไรให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าที่จะทำ”

TCDC 

“เมืองขอนแก่น ทำในรูปแบบบูรณาการถ้าเราได้มาพูดคุยกันมาเล่าให้ผู้อื่นฟังในรูปแบบอย่างง่ายสื่อสารเข้าใจง่ายว่าจะทำอย่างไรที่เราจะมาร่วมมือกันได้จะสามารถต่อยอดและสะท้อนในมิติอื่นๆเพื่อจะขยายองค์ความรู้ที่จะไม่จำกัดอยู่แค่เมือง รวมถึงการสื่อสารที่เป็นรูปประธรรม”

มทล อีสาน

“แม้เราจะอยู่ในสถานะหน่วยงานราชการที่มีข้อจำกัดแต่เราอยากจะพัฒนาซึ่งในการพัฒนาเชิงพื้นที่เรามีองค์ความรู้ในการสร้างรถไฟฟ้ารางเบาแล้วเรามีความรู้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ด้านงานวิจัยเราจะเชื่อมต่อได้อย่างไรหากในอนาคตระบบเศรษฐกิจดีเราจะมีโมเดลอย่างไรคิดว่าเราทุกภาคส่วนควรเชื่อมโยงกันและกันทั้งภาคเอกชนภาคการลงทุนมาหารือกันว่าจะลงทุนอย่างไรและในส่วนภาคจังหวัดสนับสนุนด้านระเบียบข้อกฎหมาย”

ผอ.สิ่งแวดล้อมเทศบาลนครขอนแก่น 

“อาจจะหาแหล่งทุนมาทำมาสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนด้วยทางเทศบาลไม่สามารถจัดหางบประมาณในจุดนี้ได้แต่ทางมหาวิทยาลัยทางเทศบาลสามารถสร้างพลังเครือข่ายและต้องการให้ถอดบทเรียนในประเด็นนี้เพื่อจะขยายผลและพัฒนาต่อไป”