OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของบพท.หนุน บริษัทอันดามันพัฒนาเมือง ขับเคลื่อนเขตระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามัน (Andaman Wellness Economic Corridor: AWC)

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ บพท.หนุน บริษัทอันดามันพัฒนาเมือง ขับเคลื่อนเขตระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามัน (Andaman Wellness Economic Corridor: AWC) ด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเขียวมูลค่ากว่า 6,500 ลบ. เพื่อให้เมืองเป็นเมืองแห่งโอกาสสำหรับทุกคนด้วยเศรษฐกิจ BCG

“ศูนย์ประสานการส่งเสริมสุขภาพอันดามัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
นำโดย รศ.ดร.พันธ์ ทองชุมนุม รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต ร่วมกับผู้บริหารบริษัท อันดามันพัฒนาเมือง จำกัด คุณก้าน ประชุมพรรณ์ หัวหน้าโครงการ “การศึกษาและพัฒนากะรนเพื่อกระตุ้นการลงทุนเศรษฐกิจสุขภาพ (Karon Wellness: A Implementing Karon Wellness for Investment in Areas)” ได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ประจำปีงบประมาณ 2565 เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงาน “มหกรรมอารยสถาปัตย์ และนวัตกรรมสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 6 (Thailand Friendly Design Expo 2022) รวมพลังขับเคลื่อนเมืองสุขภาพ เมืองท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับคนทั้งมวล ระหว่างวันที่
15 – 18 ธันวาคม 2565 ณ ฮอลล์ EH102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา การจัดแสดงในครั้งนี้มีจุดมุ่งหวังเกี่ยวกับการขับเคลื่อนในเชิงนโยบายระดับประเทศเกี่ยวกับเขตระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามัน (Andaman Wellness Economic Corridor: AWC) เพื่อการขับเคลื่อนเขตระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามันด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เกิดการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม สู่การพัฒนาอันดามันอย่างยั่งยืน”

นอกจากนี้ ในงานดังกล่าว ได้มีการลงนามความร่วมมือทางธุรกิจภายใต้โครงการเคเบิลคาร์ภูเก็ต (Phuket Cable Car) หรือ 普吉岛缆车项目签约仪式方案策划  ซึ่งบริษัท ซีอาร์เอสซี อินเตอร์เนชั่นแนล คอมปานี ลิมิเต็ด เป็นบริษัทของรัฐที่มีขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ภายใต้กำกับดูแลโดยตรงจากคณะกรรมการกำกับและบริหารทรัพย์สินของสภาแห่งรัฐ (SASAC)  บริษัทดังกล่าว ถือได้ว่า เป็นห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ในการออกแบบวิจัยระบบการควบคุมการจราจรทางรถไฟ การผลิตเครื่องจักร และการบริหารวิศวกรรม เป็นหน่วยงานเฉพาะที่ผลิตเครื่องระบบการควบคุมการจราจรทางรถไฟประเทศจีน ทั้งนี้ การลงนามความร่วมมือทางธุรกิจภายใต้โครงการเคเบิลคาร์ภูเก็ต (Phuket Cable Car) อยู่ภายใต้กรอบงบประมาณ 6,500 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่า เป็นความร่วมมือทางด้านการลงทุน (Urban Collaboration and Institution Arrangement) ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองจากนานาชาติ โดยการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ที่เกิดจากกลไกพัฒนาเมืองหรือที่เรียกว่า “ตัวกระตุ้นการให้เกิดการลงทุนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต” นั้นก็คือ บริษัทอันดามันพัฒนาเมือง จำกัด และภาคีเครือข่าย เป็นกลไกและฟันเฟืองหลักเพื่อใช้สำหรับขับเคลื่อนการเศรษฐกิจภายในพื้นที่ เป็นหนึ่งฟันเฟืองที่มีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการก่อร่างสร้างการเปลี่ยนผ่านจากเมืองธรรมดาไปสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด โดยทีหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เป็นหน่วยตรึงความรู้ที่ได้จากปฎิบัติการ (Action research)  ในพื้นที่อย่างจริง

รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมโปรแกรมวิจัย 15หน่วย บพท. และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือหน่วย บพท. เป็นหน่วยงานที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่ โดยใช้กระบวนการด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของไทยบนพื้นฐานเศรษฐกิจเขียว ที่เน้นในเรื่องของการมีส่วนร่วม การใช้ศักยภาพของพื้นที่ และกลไกความร่วมมือต่างๆ ซึ่ง หน่วย บพท. ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และบริษัทอันดามันพัฒนาเมือง จำกัด เพื่อที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ากว่า 6,500 ล้านบาท ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งต้องขอขอบคุณภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนของจังหวัดภูเก็ตในการขับเคลื่อนโครงการในครั้งนี้

คุณก้าน ประชุมพรรณ์ ผู้บริหารบริษัท อันดามันพัฒนาเมือง จำกัดและ หัวหน้าโครงการ “การศึกษาและพัฒนากะรนเพื่อกระตุ้นการลงทุนเศรษฐกิจสุขภาพ (Karon Wellness: A Implementing Karon Wellness for Investment in Areas)”  กล่าวว่า ผลการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือของภาคีเครือข่ายต่างๆ อาทิเช่น หน่วย บพท. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กฎบัตรไทย บริษัทอันดามันพัฒนาเมือง จำกัด บริษัท ซีอาร์เอสซี อินเตอร์เนชั่นแนล คอมปานี ลิมิเต็ด และพันธมิตรในอันดามันทั้งหมด ซี่งหลังจากการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC ครั้งที่ 29 รัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ในพื้นที่อันดามัน จึงได้มีการหารือร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรเพื่อหาแนวทางในการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องด้วยจังหวัดภูเก็ตมีพื้นที่กว่า 5,534 ตารางกิโลเมตร และยังประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ ส่งผลให้การสันจร คมนาคม ในพื้นที่ เกิดปัญหาอย่างมาก จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า การสร้าง Cable Car จะสามารถแก้ปัญหาด้านการขนส่งมวลชนดังกล่าวได้ และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว สามารถการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตได้ โดยมีการสำรวจพื้นที่เพื่อพัฒนาโครงสร้างขนส่งมวลชนเพื่อการท่องเที่ยวโดยบริษัท ซีอาร์เอสซี อินเตอร์เนชั่นแนล คอมปานี ลิมิเต็ด และเครือข่ายพันธมิตร โดยร่วมลงทุนในเฟสแรกจะเริ่มก่อสร้างในพื้นที่ พระใหญ่ ถึง กะตะกะรน และเฟสที่ 2 จากสะพานหิน ถึง ป่าตอง โดยตัดผ่านศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะเป็นพื้นที่หลักของการขยายเศรษฐกิจในเชิงสุขภาพควบคู่ไปด้วย สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณผู้ที่ให้การสนับสนุนทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ที่ทำให้เกิดการพัฒนาและยกระดับพื้นที่เศรษฐกิจอันดามัน คาดว่าน่าจะเห็นข้อมูลผลการศึกษา Feasibility และข้อมูลต่างๆ ที่หน่วย บพท. ให้การสนับสนุนและเกิดการขับเคลื่อนอย่างชัดเจนในอีก 9 เดือนข้างหน้า