OPSCD KKU และเทศบาลนครขอนแก่น ร่วมกับ ARV เดินหน้าปรึกษาหารือในการยกระดับเมืองและท้องถิ่นไทยให้เป็นเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ด้วยกลไกความร่วมมือ เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์ 

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น Operations and Promotion Center for Livable Smart City Development (OPSCD COLA KKU) และเทศบาลนครขอนแก่น ร่วมกับ บริษัท AI and Robotics Venture (ARV) เดินหน้าปรึกษาหารือในการยกระดับเมืองและท้องถิ่นไทยให้เป็นเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ด้วยกลไกความร่วมมือ เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์ ณ ห้อง OPC Liveable and Smart City ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น)

            ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น Operations and Promotion Center for Livable Smart City Development (OPSCD COLA KKU) นำทีม บริษัท AI and Robotics Venture (ARV)  ผู้นำด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ของไทย ภายใต้กลุ่ม ปตท.สผ เดินหน้าสร้างความร่วมมือกับทางเทศบาลนครขอนแก่น ณ ห้อง OPC Liveable and Smart City ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) หลังจากที่มีการบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ว่าด้วยการพัฒนาและเผยแพร่แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมอวานี จังหวัดขอนแก่น โดยมีเป้าประสงค์เพื่อยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้ ความร่วมมือ เทคโนโลยี ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัลอย่างเหมาะสม พร้อมเชิญนายกเทศมนตรีเทศบาลนครขอนแก่น ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกระดับ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบลเข้าร่วม ในการหารือครั้งนี้

         ทั้งนี้ ทางทีม ARV ได้มีการนำเสนอ 6 ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีในการเปลี่ยนแปลงการทำงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้ 1) กำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับพันธกิจของเทศบาล เพื่อให้เกิด Digital Transformation ในองค์กร 2) การออกแบบโครงการสร้างบุคลากรในเทศบาลใหม่ให้เหมาะกับเทศบาล 4.0 3) การจัดหาบุคลากร/เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีความสามารถ เพื่อสร้าง Change Agent 4) การออกแบบระบบการบริหารงานท้องถิ่น ที่ใช้เทคโนโลยีข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ 5) ความมุ่งมั่นของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ และข้อ 6) การติดตามความคืบหน้าเพื่อผลลัพธ์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิผล อีกทั้งยังฝากแผนงานในอนาคตให้กับทางเทศบาลว่า เทศบาลต่อจากนี้ไปต้องทำหน้าที่ในลักษณะเป็นแพลตฟอร์ม ทั้ง ในด้านการให้บริการกับประชาชนด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพล และด้านการบริหารจัดการองค์กรด้วยการและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์ (AI) และข้อมูลจำนวนมาก (Big Data)

         ในการนี้ เทศบาล 4.0: เทศบาลในฐานะแพลตฟอร์ม (ด้านความคิด กระบวนการทำงาน และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน) จะต้องมีรูปแบบแผนการดำเนินอย่างเป็นรูปธรรม จับต้องได้ โดยการใช้การสถาปัตกรรมข้อมูล (Data Architecture) มีแพลตฟอร์มการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ดังนี้ 1) Capture: ดิจิทัลภิวัฒน์ (Digitalization) เป็นการศึกษาข้อมูล และการรวบรวมข้อมูล 2) Curate: ยืดหยุ่น ว่องไว (Agile) การประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI/ML 3) Consume: รองรับความต้องการที่หลากหลาย เป็นการสร้างข้อมูลเชิงลึก (Insights) และการเข้าถึงคุณค่าของข้อมูล อีกทั้งการดำเนินงานจากที่กล่าวมายังเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานในรูปแบบการกระจายอำนาจแบบเครือข่าย (Distributed Network) ได้อีกด้วย