ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ เสวนาพัฒนาเมืองครั้งที่ 1 ขอนแก่น: เมืองแห่งโอกาส (Khon Kaen: Where Opportunities Find You)
วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โครงการวิจัย ขอนแก่น : สู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ ภายใต้ การสนับสนุนงบวิจัยจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้กำหนดให้มีการจัดงานเสวนาพัฒนาเมืองครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “ขอนแก่น: เมืองแห่งโอกาส” ในรูปแบบ Online ผ่านทาง Facebook Live:งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาพื้นที่ โดยการเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักคิด นักพัฒนาเมืองขอนแก่น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีคิด การวางแผนการพัฒนาเมืองขอนแก่นให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่ออกแบบได้ด้วยมือเราเอง
โดยได้รับเกียรติจาก คุณธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น คุณเข็มชาติ สมใจวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม (KKTS) จำกัด อ.สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและองค์กรสัมพันธ์ วปท.มข. ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการบริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม(KKTS) จำกัด, คุณเจริญลักษณ์ เพชรประดับ เลขาธิการมูลนิธิชุมชนขอนแก่นทศวรรษหน้า คุณกังวาน เหล่า-วิโรจนกุล ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง(KKTT) จำกัด คุณภพพล เกษมสันต์ ณอยุธยา นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น (KKTBA) ผศ.ดร.สักรินทร์ แซ่ภู่ หัวหน้าโครงการวิจัยขอนแก่นเมืองเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มมส. รศ.นพ.ชลธิป พงศ์สกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายศูนย์กลางบริการสุขภาพ คณะแพทย์ศาสตร์ มข. คุณทักษ์ ศรีรัตโน-ภาส ผู้อำนวยการด้านโครงการร่วมทุนและการค้าระหว่างประเทศ บริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด และรศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วย บพท. ให้เกียรติมาเป็นแขกรับเชิญครั้งนี้ พร้อมมี คุณสุทธิชัย หยุ่น และรศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้เชี่ยวชาญจากบพท. ให้เกียรติเป็นผู้ดำเนินรายการ
สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ทำให้ทราบจุดแข็งและจุดอ่อนจังหวัดขอนแก่น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและแก้ไขทั้งในเรื่องของการตั้งสภาพลเมืองเพื่อให้ประชาชนทุกคน สามารถแสดงความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจร่วมกับภาครัฐอย่างอิสระและปลอดภัย สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างทั่วถึง และทราบถึงกลไกต่างๆ ทั้งกลไกการมีส่วนร่วม Learning City เศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจดิจิทัล Smart Healthcare Smart Living เป็นต้น ที่จะช่วยสร้างโอกาส สร้างการเปลี่ยนแปลง ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิดของประชาชนจังหวัดขอนแก่นในทุกมิติให้ดียิ่งขึ้น