ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของเทศบาลตำบลบ้านผือ ต้นแบบในการจัดสวัสดิการกลุ่มเปราะบาง โดยการบูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วของประเทศ U2T-27team ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
การทำให้กลุ่มเปราะบางได้รับการเยียวยาและมีคุณภาพชีวิตที่ทัดเทียมกับคนอื่น ๆ ในสังคม คือ เป้าหมายที่อย่างน้อย 5 หน่วยงานมีร่วมกัน 5 หน่วยงานนี้ประกอบด้วย โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เทศบาลตำบลบ้านผือ และจังหวัดขอนแก่น โดยผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล (โครงการคู่เสี่ยว เกี่ยวก้อย แก้จนคนขอนแก่น) การบูรณาการการทำงานทำให้เทศบาลตำบลบ้านผือได้รับการคัดเลือกให้เป็นตำบลต้นแบบในการจัดสวัสดิการและดำเนินการพัฒนากลุ่มเปราะบาง เพื่อเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 บุคลากรเทศบาลตำบลบ้านผือ ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงานนี้ ได้ถ่ายทอดปต่อที่ผู้เข้าร่วมโครงการ U2T ที่ร่วมกับ อบต.หนองเรือ อบต.ในเมือง เวียงเก่า และเทศบาลตำบลกุดกว้าง รวมถึงภาคีเครือข่ายจากภาคเอกชน เช่น บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด โดย
คุณวิจิตร จันทรมาส ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน รวมทั้งได้สะท้อนเทคนิควิธีการสำรวจข้อมูลปฐมภูมิกับกลุ่มเปราะบาง การเข้าถึงชุมชน การสร้างการยอมรับและสร้างความไว้วางใจ (Trust) ที่มีต่อกัน จากนักพัฒนาชุมชน ของเทศบาล ที่เปี่ยมล้นด้วยจิตสำนึกรักบ้านเกิด และสะท้อนให้เห็นว่า ไม่มีใครรู้ปัญหาและความต้องการ เข้าใจ เข้าถึงพื้นที่ ได้ดีเท่ากับคนในพื้นที
นอกจากนี้แล้ว ในการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ยังได้มีการสร้างแรงบันดาลใจ จากผู้ทำหน้าที่เป็น Coach หลาย ๆ ท่าน ด้วยวลีเด็ด ๆ อาทิเช่น
หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลตำบลบ้านผือ
“ทุกคนมีดีในตัวเอง ค้นหาให้เจอ แล้วดึงสิ่งนั้นออกมา”
“ทุกคนทำได้ หากคิดว่า ทำได้”
นายกเทศมนตรีสอนพวกเราว่า
“อะไรที่จะทำให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ เราต้องทำ หน่วยงานไหนจะให้เราทำอะไร เราทำหมด นายกฯ จะดึงโครงการต่าง ๆ มาเยอะมาก เสาร์ – อาทิตย์ไม่เกี่ยง ขอให้ชาวบ้านได้ประโยชน์”
และที่สำคัญเราทำทุกอย่าง เราได้หมด ไม่มีอะไรเสีย แม้แต่นิดเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ความรู้ได้เครือข่าย”
กำนันตำบลบ้านผือ
“ทำเยอะ ได้ความรู้เยอะ ได้เครือข่ายเยอะ”
“ผู้นำต้องทำก่อน และลงมือทำเป็น เพื่อเป็นตัวอย่าง”
ดร.พรณรงค์ ชาญนุวงศ์ อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่เรียกตนเองว่า สถาปนิกสายล่าง เดินดิน กินได้
“ชุมชนอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ ต้องมีของดี วันนี้เราทุกคนมาร่วมกัน ค้นหาและสร้างสิ่งนั้นในชุมชน” ผศ.
ดร.โอ๋ วรพงษ์
“อย่าปล่อยเวลาให้สูญเปล่า อย่ามีข้ออ้างในทุกมิติ”
ในด้านสิ่งแวดล้อม
เทศบาลตำบลบ้านผือ ยังมีการจ่ายบำเหน็จให้กับประชาชนทุกคนเป็นสมาชิก โดยที่เงิน “บำเหน็จ” นี้ ได้มาจากการบริหารจัดการขยะภายในชุมชน จนวันนี้เงินกองทุนนี้ มีมูลค่ากว่า 2 ล้านบาท ของดี ๆ ที่ตำบลบ้านผือ ยังมีอีกมากมาย