OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของประชุม PMU-A Annual Retreat 2565 หน่วย บพท. หวังสร้างการเปลี่ยนแปลง และสอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ ประชุม PMU-A Annual Retreat ประจำปีงบประมาณ 2565 หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หวังสร้างการเปลี่ยนแปลง และสอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ

ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผู้นำและสมาชิกทุกคนร่วมกันมอง โดยพื้นฐานมักอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบัน เชื่อมโยงวัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม และความมุ่งมั่นตั้งใจเข้าด้วยกัน ดังนั้นการทำให้เห็นทิศทางการดำเนินงานขององค์กรอย่างชัดเจน มีพลังความท้าทาย มีกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดความชัดเจนในภารกิจ และบทบาทความเกี่ยวข้องของบุคคลทุกฝ่ายต่างเป็นสิ่งที่ผู้นำหลายองค์กรให้ความสำคัญ

โดยในระหว่างวันที่ 7-9 ตุลาคม 2565  เวลา 08.30 – 17.00 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้กำหนดจัดการประชุม PMU-A Annual Retreat ประจำปีงบประมาณ 2565 ให้กับคณะกรรมการบริหาร ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ  และผู้ประสานงานโครงการ ของหน่วย บพท. ขึ้น ณ ห้องไพลิน A โรงแรมโรงแรมเฟลิกซ์ ริเวอร์แคว รีสอร์ท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยประสานงานจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเมือง (RDC) ทุกโปรแกรมการวิจัย จำนวน 80 คน            ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และสามารถเชื่อมโยงงานระหว่างแผนงาน โปรแกรม กรอบงานวิจัย รวมถึงเชื่อมโยงงานระดับพื้นที่ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของหน่วย บพท. เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนงานตามกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อววน.) พ.ศ. 2566-2570 ที่มุ่งเน้นให้เกิดเป้าหมายร่วมของแผนงานและองค์กร

สำหรับการประชุม PMU-A Annual Retreat ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อร่วมวางยุทธศาสตร์และกำหนดทิศทางนโยบบาย นำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาหน่วยงานให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างการเปลี่ยนแปลง และสอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ในช่วงเช้าของวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ได้รับเกียรติจาก ผู้อำนวยการหน่วย บพท.ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และกล่าวถึง “เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของหน่วย บพท. และทิศทางการทำงานที่สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ แผนด้าน ววน. พ.ศ.2566-2570 และความคาดหวังต่อการดำเนินการของหน่วย บพท. อันมีใจความพอสังเขปดังนี้ “สังคมก้าวหน้าเศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน แบ่งได้ 4 มิติการพัฒนา ประกอบด้วย 1) ภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย 2) โอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม 3) ความยั่งยืนของทรัพยกากร และ 4) ปัจจัยผลักดันและพลิกโฉมประเทศ ซึ่งสามารถทำได้จากการมี HOPE และ PASSION การเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง สร้างกัลยาณมิตร เครือข่ายและความเชื่อ พร้อมทั้งการทำงานเป็นทีม  บริหารงานวิจัยผ่านกลไกความร่วมมือ ประกอบด้วย 1.เป้าหมายร่วม 2.กิจกรรมร่วม 3. ประโยชน์ร่วม 4.ระดมทรัพยากรร่วม 5. โครงการและกติการ่วม มุ่งสร้าง Area-Based Collaborative Concept”

โดย ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วย บพท. ได้ทิ้งท้ายด้วยว่า “ข้อมูลกลไกและกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ได้ด้วยยุทธศาสตร์และงานวิจัย ต้องคิดใหม่ มองใหม่ มองไปข้างหน้า ต้องเปลี่ยนแปลงด้วยระบบความรู้ ทำให้เกิดวัฒนธรรมในการพัฒนา”

ในลำดับต่อมา เป็นกิจกรรม “เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนและผลการสังเคราะห์งานในปีงบประมาณ 2563-2565 ที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างแผนงาน โปรแกรม และกรอบวิจัย เพื่อตอบตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (OKR) ตามแผนงานและกรอบการวิจัย”

 ด้านโปรแกรม 13 พัฒนานวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 แผนงาน “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” กลุ่มที่ 2 กรอบการวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) บนฐานทรพยากรพื้นถิ่นเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่” ภายใต้แผนงาน “มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่” กลุ่มที่ 3 กรอบการวิจัย “มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านกลไกภาคประชาชนสังคม” ภายใต้แผนงาน “มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่”  กลุ่มที่4 กรอบการวิจัย “มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ผ่านกลไกสถาบันอุดมศึกษา” ภายใต้แผนงาน “มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่” ซึ่งมีเนื้อหาพอสังเขป ดังนี้ “ชุมชนนวัตกรรม ขับเคลื่อนจากมหาวิทยาลัย พื้นที่ทั่วทั้งประเทศ วิเคราะห์ในระดับตำบล เกิดผลลัพธ์นวัตกร Appropriate Technology และชุมชนนวัตกรรม  ในด้าน กรอบการวิจัย “การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local Enterprises) ขับเคลื่อนโดยมหาวิทยาลัยและภาคประชาสังคม วิเคราะห์จากผู้ประกอบการในพื้นที่ ผลลัพธ์ คือ Application ประตูเศรษฐี และ Appropriate Technology  
ในด้านทุนทางวัฒนธรรม ยังคงขับเคลื่อนจากมหาวิทยาลัยและภาคประชาสังคม  68 พื้นที่ 64 จังหวัด 324 พื้นที่นวัตกรรม วิเคราะห์ในย่านวัฒนธรรม ได้ผลลัพธ์ Cultural Mapping , Cultural apace , Cultural Based Economy และผู้ประกอบการวัฒนธรรมมากกว่า 6,000ราย

ลำดับถัดไป โปรแกรม 14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กลุ่มที่ 5 แผนงาน “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ” มีเนื้อหาพอสังเขป ดังนี้ “ขจัดความยากจนด้วยระบบค้นหาและสอบถามครัวเรือนยากจน ระบบส่งต่อความช่วยเหลือ ระบบวิเคราะห์ปัญหาและฐานทุกครัวเรือนยากจน และโมเดลแก้จน  หน่วยวิเคราะห์ใช้คนและครัวเรือนยากจน ใช้ 20 จังหวัดนำร่อง  ขับเคลื่อนผ่านภาคีเครือข่าย หน่วยงาน Function ในพื้นที่ และจังหวัด

ต่อมาโปรแกรม 15 การพัฒนาเมืองน่าอยู่และกระจายศูนย์กลางความเจริญ กลุ่มงานที่6 แผนงาน
 “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” มีเนื้อหาพอสังเขป ดังนี้ “ภาพรวมกรอบการวิจัยโปรแกรม 15 ทั้งหมด ประกอบด้วย 1. Learning city การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ 2.Low-Carbon City การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำ 
3. Wellness City การพัฒนาเมืองสุขสมบูรณ์ 4. Green City การพัฒนาเมืองสีเขียว 5. Local Gov Capacity 
การยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและงานวิจัยท้องถิ่น 6. กรอบทาบทามตามกลไก กรอบทาบทามนักวิจัยคุณภาพตามยุทธศาสตร์และกลไกทั้ง 4 ด้าน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น อาทิ  กลไกความร่วมมือ Jobs Creation และการร่วมลงทุน ในพื้นที่ทั้งหมด 35 จังหวัด  วิเคราะห์ในพื้นที่เมือง และขับเคลื่อนโดยบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership หรือ PPP)  มุ่งสู่เป้าประสงค์ คือ ยกระดับท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นจุดรวมทางยุทธศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลง ( Central of Gravity)”

และปิดท้ายกิจกรรมวันที่ 7 ตุลาคม 2565 เป็นการ Reflection การขับเคลื่อนและผลการสังเคราะห์งานในปีงบประมาณ 2563-2565 โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการบริหาร หน่วย บพท.