ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ การประชุมพิจารณา (ร่าง) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ กรอบทามทามนักวิจัยคุณภาพ ภายใต้โปรแกรมที่ 15 พัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” ประจำปีงบประมาณ 2564

“ประชุมพิจารณา (ร่าง) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์” ถือเป็นการนำเสนอที่นักวิจัย จะได้รับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงรายงานวิจัย เพื่อให้เกิดความฉบับสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งได้เรียนรู้ข้อคิดจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานวิจัยของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำไปต่อยอดการพัฒนาโครงการวิจัยของตน
โดยเมื่อวันพุธที่ 28 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา โครงการการประสานงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมือง ท้องถิ่น และกลไกเติบโตใหม่ (RDC) ได้ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดการประชุมพิจารณา (ร่าง) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ กรอบทามทามนักวิจัยคุณภาพ ภายใต้โปรแกรมที่ 15 พัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” ประจำปีงบประมาณ 2564 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักวิจัยได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ ต่อรายงานฉบับสมบูรณ์ และเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานปิดโครงการต่อไป ทั้งนี้ได้มีคณะกรรมการจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) นำโดย รศ.ดร. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการ (บพท.) รศ.ดร. ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมโปรแกรมวิจัย 15 และผู้เชี่ยวชาญ และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย นายจาดุร อภิชาตบุตร ประธานคณะกรรมการพิจารณาติดตามและประเมินผล แผนงานริเริ่ม สำคัญ “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” ภายใต้โปรแกรมที่ 15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ รศ. ดร.ฉวีวรรณ เด่นไพบูลย์ กรรมการพิจารณาติดตาม และประเมินผลฯ นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ศ.ดร.อภิรัฐ ศิริธราธิวัตร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายบุญเสริม ขันแก้ว รองอธิบดีกรมการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รศ. ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารสุข ดร.สมคิด จันทร์วิทยานุชิต คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้เกียรติรับฟังและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการวิจัย พร้อมมี น.ส.สุทธิดา มณีกุล นักวิเคราะห์ หน่วย บพท. น.ส.รัชชนก สหวรรักษ์ นักวิเคราะห์ หน่วย บพท. น.ส.ภัคนิชชา พูลสิน นักวิเคราะห์ หน่วย บพท. น.ส.ปพิชญา แสวงธรรม นักวิเคราะห์ หน่วย บพท. น.ส.อรทัย สุทธโส ผู้ประสานงานโครงการฯ น.ส.ภาภรณ์ เรืองวิชา ผู้ประสานงานโครงการฯ ร่วมสังเกตการนำเสนอจำนวน 7 โครงการ อันได้แก่
โครงการที่ 1 ชื่อโครงการ “กลไกการพัฒนาการเรียนรู้ของเมือง” โดยมี นายชยดิฐ หุตานุวัฐ สถาบันทิวา เป็นหัวหน้าโครงการ
โครงการที่ 2 ชื่อโครงการ “การสร้างกลไกการพัฒนาอุตสาหกรรมในภาคเหนือให้มีขีดความสามารถในการปรับตัวสู่ความยั่งยืน และยกระดับสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนระดับโลกหลังวิกฤติสถานการณ์ COVID – 19” โดยมี นายอนุชา มีเกียรติชัยกุล บริษัท เชียงใหม่วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เป็นหัวหน้าโครงการ
โครงการที่ 3 ชื่อโครงการ “การศึกษาแนวทางการระดมทุนสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเมือง ระดับจังหวัดของประเทศไทย” โดยมี ดร.พิสิทธิ์ พัวพันธ์ สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ เป็นหัวหน้าโครงการ
โครงการที่ 4 ชื่อโครงการ “ลำปางศึกษา” โดยมี เป็นหัวหน้าโครงการ ดร.ขวัญนภา สุขคร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง
โครงการที่ 5 ชื่อโครงการ “การสร้างกลไกความร่วมมือแบบมีส่วนร่วมพื้นที่เขาใหญ่ เพื่อยกระดับสู่เมืองเศรษฐกิจวิถีปกติใหม่ระยะถัดไป” โดยมี นาย จิรายุ แก้วพะเนาว์ มูลนิธิ โพชฌงค์เป็นหัวหน้าโครงการ
โครงการที่ 6 ชื่อโครงการ“ระบบสารสนเทศทางยุทธศาสตร์ เพื่อการวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่” โดยมี นายนที เทพโภชน์ Om Platform CO.,Ltd เป็นหัวหน้าโครงการ
โครงการที่ 7 ชื่อโครงการ “โครงการประสานงานจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเมืองปี 2564” โดยมี นายเกียรติศักดิ์ พาชิยานุกูล บริษัท เคปป์ รีเสิร์ช จำกัด เป็นหัวหน้าโครงการ
ทั้งนี้ภายหลังจากที่นักวิจัยได้มีการนำเสนอ และตอบข้อซักถามของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้เชี่ยวชาญต่างได้ให้ข้อเสนอแนะ และข้อสรุปเพื่อให้รายงานฉบับนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วย






