OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรม การประชุมการนำเสนอรายงานความก้าวหน้า ระยะเวลา 4 เดือน ของกรอบการวิจัย Low Carbon City

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรม การประชุมการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ ในช่วงระยะเวลา 4 เดือน ของกรอบการวิจัย “การพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ (Low Carbon City)”

          เมื่อกลไกหนึ่งที่ช่วยให้การดำเนินการวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และสามารถนำผลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ การนำเสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ ต่อคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อรับฟังและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการวิจัย

          ในวันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา โครงการการประสานงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมือง ท้องถิ่น และกลไกเติบโตใหม่ (RDC) จึงได้ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดการประชุมการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ ในช่วงระยะเวลา 4 เดือน ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ ภายใต้แผนงานการพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่ โปรแกรม 15 การพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แพลตฟอร์มที่ 4 การวิจัย และสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ

          สำหรับการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ ในช่วงระยะเวลา 4 เดือน นี้ ได้มีคณะกรรมการจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในฐานะหน่วยงานผู้ให้ทุน นำโดย รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการ (บพท.) พร้อมด้วย รศ.ดร. ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมโปรแกรมวิจัย 15 และ ผู้เชี่ยวชาญ และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย ดร.อมรวรรณ เรศานนท์ กรรมการบอร์ดงานเมือง โปรแกรมวิจัย 15 และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานเมืองคาร์บอนต่ำ นายธวัชชัย แสงคำสุข ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนวิชาการและนโยบายสาธารณะ ผศ.ดร.สมศักดิ์ พิทักษานรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม นักวิชาการอิสระ ให้เกียรติรับฟังและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการวิจัย พร้อมมี นางสาวรัชชนก สหวรรักษ์ นักวิเคราะห์ (ว1) นางสาวภัคนิชชา พูลสิน นักวิเคราะห์ (ว1) นางสาวสุทธิดา มณีกุล นักวิเคราะห์ (ว1) ร่วมสังเกตการนำเสนอจำนวน 11 โครงการ อันได้แก่

          โครงการที่ 1 ชื่อโครงการ การพัฒนานครระยองมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดยมีนายภูษิต ไชยฉ่ำ เป็นหัวหน้าโครงการ โครงการที่ 2 โครงการ Chiangrai-Decarbonization City (CDC): เพื่อการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่สร้างเศรษฐกิจสีเขียวและแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติ โดยมี ผศ.ดร.สุขทัย พงศ์พัฒนศิริ เป็นหัวหน้าโครงการ

          โครงการที่ 3 โครงการการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำน่าอยู่อย่างยั่งยืน กรณี จังหวัดขอนแก่น โดยมี นายบุญฤทธิ์ พาณิชย์รุ่งเรือง เป็นหัวหน้าโครงการ

          โครงการที่ 4 การพัฒนาเทศบาลนครระยองคาร์บอนต่ำ โดยมี ศ.ดร.อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ เป็นหัวหน้า      โครงการ โครงการที่ 5 โครงการความร่วมมือกลไกใหม่ในการจัดการ E-waste เมืองพัทยา โดยมี นายเอกลักษณ์ ณัถฤทธิ์ เป็นหัวหน้าโครงการ

          โครงการที่ 6 แผนปฏิบัติการเมือง สมุทรสาครน่าอยู่ มุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดยมี ดร.จุฑาทิพย์ มณีพงษ์ เป็นหัวหน้าโครงการ

          โครงการที่ 7 การเสริมสร้างศักยภาพให้ชุมชนบริหารจัดการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการผลิตน้ำประปาจากน้ำฝน โดยมี นางพัทธนันท์ นาถพินิจ เป็นหัวหน้าโครงการ

          โครงการที่ 8 การพัฒนาพื้นที่สีเขียว ตำบลบางยอ คุ้งบางกะเจ้า ด้วยการสนับสนุนทางการเงินผ่านกลไก LESS เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกในคุ้งบางกะเจ้า โดยมี นางสาวอภิรดี อานมณี เป็นหัวหน้าโครงการ

          โครงการที่ 9 การพัฒนากลไกและต้นแบบธุรกิจที่เอื้อต่อการลงทุนเชิงพื้นที่ เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ เทศบาลเมืองแม่เหียะ โดยมี ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี เป็นหัวหน้าโครงการ

          โครงการที่ 10 ต้นแบบระบบนิเวศเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ กรณีศึกษา การพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะเมืองโคราช โดยมี ดร. สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าโครงการ

          และโครงการที่ 11 การจัดการเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่และการพัฒนากลไกการเติบโตสีเขียวเพื่อรับมือกับผลกระทบการเปลี่ยนแปลง โดยมี ดร.จักรพงศ์ พงศ์ธไนศวรรย์ เป็นหัวหน้าโครงการ

          ทั้งนี้ภายหลังจากที่นักวิจัยได้มีการนำเสนอ และตอบข้อซักถามของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้เชี่ยวชาญต่างได้ให้ข้อเสนอแนะ และข้อสรุปในการจัดการเพื่อเข้าสู่กระบวนการต่อไป ด้วย