OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ เสวนาพัฒนาเมือง ครั้งที่ 4 นครสวรรค์ นวัตกรรมนคร Glabal Intelligent City

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ เสวนาพัฒนาเมือง ครั้งที่ 4 นครสวรรค์ นวัตกรรมนคร Glabal Intelligent Cityภายใต้การสนับสนุนงบวิจัยจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โครงการวิจัย นครสวรรค์: นวัตกรรมนครGlabal Intelligent City ภายใต้การสนับสนุนงบวิจัยจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้กำหนดให้มีการจัดงานเสวนาพัฒนาเมือง ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “นครสวรรค์ : นวัตกรรมนคร  Global Intelligent City ” โชว์พลังขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองครั้งใหญ่ของนครสวรรค์ ที่ร่วมมือกันยกระดับเศรษฐกิจเมือง เพื่อให้เป็นเมืองศูนย์กลางภาคเหนือตอนล่าง ในรูปแบบ Online ผ่านทาง Facebook Live: งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาพื้นที่

โดยการเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักคิด นักพัฒนาเมืองนครสวรรค์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีคิด การวางแผนการพัฒนาเมืองนครสวรรค์ ให้เป็นเมืองนวัตกรรมนคร Glabal Intelligent City ที่ออกแบบได้ด้วยมือคนเมืองเอง  โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของนครสวรรค์ อย่าง นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์  /ประธานกฎบัตรนครสวรรค์  นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ  ประธานสภาเทศบาลนครสวรรค์ รองประธานกฎบัตรไทย  นายสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสวรรค์ นายแพทย์ชวลิต  วิมลเฉลา ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ / ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่ม KTIS ทันตแพทย์สุพจน์  หวังปรีดาเลิศกุล สถาปนิก ผู้เชี่ยวชาญด้านSmart city กับการพัฒนาเมือง  ดร.กนกวรรณ มะสุวรรณ  กรรมการบริหารโรงพยาบาลสินแพทย์ ทันตแพทย์ฐิติ ชนะภัย ประธานเครือข่ายพัฒนาชุมชนเมืองนครสวรรค์  คุณอร่ามศรี  จันทร์สุขศรี   ผู้เชี่ยวชาญด้านการผังเมือง อุปนายกสมาคมการผังเมืองไทย อาจารย์ธรรมรงค์ ราชามุสิกะ และนักวิจัยประจำศูนย์ฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม โปรแกรมวิจัย 15 รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ 

สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ที่ร่วมเป็นแกนหลักของการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ “เมืองปากน้ำโพ” ได้มารวมตัวช่วยกัน เพื่อระดมความคิดต่อทิศทางการขับเคลื่อนเมืองนครสวรรค์จากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐเอกชน ภาคธุรกิจ สมาคม นักวิชาการ เพื่อให้เป็นเมืองศูนย์กลางภาคเหนือตอนล่าง ประตูสู่ภาคเหนือโฉมใหม่อย่างแท้จริง ด้วย จ.นครสวรรค์ นี้ถือว่าเป็นจังหวัดยุทธศาสตร์จังหวัดหนึ่ง ที่เป็นเป้าหมายหลักในการเป็นศูนย์กลางกระจายความเจริญออกจาก กรุงเทพฯ

ผู้ที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของนครสวรรค์ต่างมาร่วมสะท้อนภาพ ว่าวันนี้นครสวรรค์เกิดอะไรขึ้น เพื่อให้คนอื่นๆ ได้เห็นบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่นำโดย ผู้บริหาร “ท่านนายก” ที่วันนี้ปรับบทบาทจากผู้บริหารเทศบาล มาเป็น “นักพัฒนาเมือง นักพัฒนาพื้นที่ของตัวเอง และเชื่อมโยงกับภาคเอกชน เชื่อมโยงกับภาคประชาสังคม” ซึ่งถือเป็นบทบาทที่สำคัญ เป็นเจตนารมณ์ และเป็นกระบวนการที่สำคัญของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ โดยเฉพาะโปรแกรม 15 เช่นกัน เพราะ บพท.โปรแกรม 15 ถือว่าเป็นหน่วยที่ผลักดันเรื่องการเปลี่ยนแปลงโดยใช้ทุนวิจัยเป็นตัวผลัก ในการผลักดันให้เกิดการปรับบทบาทขององคาพยพต่างๆให้มาทำงานประสานความร่วมมือกัน 

และภาพที่เกิดขึ้น วันนี้  “นครสวรรค์”เป็นหมุดหมายหนึ่งที่สำคัญ ที่ทำให้เห็นความเป็นพลวัตของการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองโดยกลไกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกฎบัตร ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาโดยข้อตกลงร่วมกันของส่วนต่างๆ เห็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาประกบ เห็นความร่วมมือของวิชาการกับภาคพลเมือง ซึ่งอันนี้ก็เป็นลำดับขั้นของการพัฒนา โดยมีเป้าหมาย คือทำให้เมืองเป็นเมืองที่สร้างโอกาสให้กับทุกคน เป็นเมืองที่คนรุ่น Young Generation รุ่นหนุ่มที่เคยไปอยู่ที่อื่นกลับบ้านได้ เพราะรู้ว่าบ้านของตัวเองมีสิ่งที่ดีๆที่จะช่วยกันเรียนรู้ ช่วยกันต่อยอด ร่วมกันสร้างเมืองของตัวเอง นี่คือการกระจายโอกาส กระจายศูนย์กลางความเจริญ และก็สิ่งที่ตามมาก็คือ “ความเหลื่อมล้ำ” ก็จะถูกลดน้อยลง และนี่คือเป้าหมายของการสร้างเมืองใหม่ เพื่อที่จะเป็นเมืองที่พึ่งพาตัวเองได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทำให้คน Generation ต่างๆมาทำงานร่วมกันได้