OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของฝ่ายพัฒนาเครื่องมือ ลงพื้นที่จริงทดลองใช้ระบบประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริตผ่านระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม TYIntegrityProject

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ ฝ่ายพัฒนาเครื่องมือ โครงการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ ประจำปี 2565 ลงพื้นที่จริงทดลองใช้ระบบประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริตผ่านระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มTYIntegrityProject

ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นที่ปรึกษาดำเนิน โครงการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ ประจำปี 2565 นั้น เพื่อให้การดำเนินการจัดทำเครื่องมือสำหรับการประเมินผลพฤติกรรมเด็กและ เยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และเครื่องมือสำหรับการประเมินผลผลสัมฤทธิ์ในการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้มีประสิทธิภาพ ตามโครงการผลักดันหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรฯเพื่อพัฒนาและขยายผลหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

ในระหว่างวันที่ 6-10 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ฝ่ายพัฒนาเครื่องมือของโครงการฯ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส อาจารย์สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และทีมผู้ช่วยนักวิจัย จึงได้นำคณะทำงาน ลงพื้นที่จริง เพื่อทำการทดลองการใช้เครื่องมือประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต (ฉบับทดลองใช้ paper-pencil) กับผู้ใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ในระดับประถมศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นปลาย ผู้บริหาร ครูผู้สอน (ผู้ควบคุมเก็บข้อมูลในฐานะผู้ใช้) และผู้ปกครอง ในฐานะผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ (user experienced) พร้อมสอบถามความเข้าใจภาษา เวลาที่ใช้  และรับฟังการสะท้อนข้อมูลวิจัย ก่อนนำข้อมูลส่งต่อทีมพัฒนาระบบประเมินพฤติกรรมแบบดิจิทัล Digital Assessment Platform ต่อไป อนึ่งจากการลงพื้นที่ทดลองการใช้เครื่องมือฉบับ paper-pencil ในแต่ละครั้ง ใช้เวลาโดยประมาณ 5-10 นาทีขึ้นอยู่กับความสามารถในการอ่านหนังสือได้คล่องแคล่วของเด็กนักเรียนแต่ละคน

จากนั้น ดร.วชิราวุธ ธรรมวิเศษ นักวิจัยจากวิทยาการคอมพิวเตอร์ มข.ซึ่งรับผิดชอบการออกแบบและพัฒนาระบบประเมิน machine learning and data analytic ได้มีการสร้างเครื่องมือที่เชื่อมต่อชุดข้อมูลเครื่องมือประเมิน ฉบับ paper pencil ไปสู่ digital assessment platform ที่ชื่อว่า TYIntegrityProject  แล้วส่งต่อฝ่ายพัฒนาเครื่องมือลงพื้นที่จริงอีกครั้ง เพื่อทดลองใช้ระบบประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต ผ่านระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม TYIntegrityProject ในระหว่างวันที่ 13-14 มิถุนายน 2565 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส ได้ดำเนินการทดลองใช้ระบบ TYIntegrityProject  ในการดำเนินการตามโครงการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ ประจำปี 2565 ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้ระบบมีประสิทธิภาพ พร้อมหาจุดปรับปรุงแก้ไข ที่จะนำไปสู่การประเมินรอบด้าน 360 องศา ทั้งตนเอง ครูผู้สอน เพื่อน และผู้ปกครอง ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด