ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ผนึกพลังผู้นำที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองต่างๆ และผู้ที่อาสาเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการพัฒนาเมืองของตัวเอง สู่การพัฒนาเมืองที่ตรงจุด

“กระแสการพัฒนาเมือง ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ที่ขอนแก่น แต่ยังกระจายไปยังเมืองอื่นๆ เพราะไม่เพียงเป็นหนึ่งในทางออกของปัญญาหาเมือง แต่เป็นรากฐานสำคัญ ในการขับเคลื่อนและส่งเสริมการพัฒนาเมือง มีส่วนในการบริหารจัดการคนจำนวนมหาศาล ช่วยยกระดับการลงทุนของไทยให้กลับมาสูงขึ้นได้ในอนาคต ช่วยลดการก่อหนี้สาธารณะจากการร่วมลงทุนกับเอกชน และยังลดหนี้ ครัวเรือนจากการเติบโตของเศรษฐกิจได้อีกด้วย”
วันที่ 6-8 พฤษภาคม 2565 บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด ได้ร่วมกับ โครงการขอนแก่นศึกษา: Learning City (บพท.) /สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย/ กฎบัตรไทย/ สมาคมการผังเมืองไทย/เครือข่ายเทศบาลและบริษัทพัฒนาเมือง โดยการสนับสนุน จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ได้กำหนดการประชุมหารือถึงแนวทางการพัฒนาเมืองและเสนอทางออกการลงทุนระบบขนส่งมวลชนระดับเมืองหลังโควิด-19 โดยกิจกรรม เริ่มจากวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ที่คณะทำงานร่วมทุกฝ่าย จะดูการพัฒนาเมืองในย่านศรีจันทร์ การเล่าเรื่องเมืองขอนแก่น อดีต ปัจจุบัน อนาคต ที่พิพิธภัณฑ์ ธนารักษ์ขอนแก่น, การรับฟังบรรยายสรุปเรื่องการพัฒนาต้นแบบรถไฟฟ้ารางเบา ชมชิ้นส่วนรถไฟฟ้ารางเบา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตขอนแก่น วันที่ 7 พฤษภาคม 2565 เป็นการประชุมร่วมคณะทำงานทุกฝ่าย โดยเริ่มจากหัวข้อเจตนารมณ์ของกิจการพัฒนาเมือง, การบรรยายสรุปเรื่องประสบการณ์พัฒนาเมืองและเศรษฐกิจของเทศบาล และบริษัทพัฒนาเมือง ช่วงปี 2560-2565, การเสวนาเรื่องการพัฒนาเมืองและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19, การสรุปการจัดงาน Awakening Khonkaen, การนำเสนอหัวข้อ Khonkaen Blockchain Digital และการเสวนาเรื่องโอกาสในการลงทุนเพิ่มพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและการพัฒนาเมือง ที่โรงงานผลิตรถไฟฟ้ารางเบาต้นแบบ บ.ช ทวี จำกัด (มหาชน) ขณะที่วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 จะเป็นการประชุมปฏิบัติติการเรื่องการเตรียมการพัฒนานิเวศเศรษฐกิจเวลเนส และ Wellness Startup เขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามโครงการพัฒนาเขตนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพวิถีใหม่ เพื่อพลิกฟื้นประเทศไทยหลังโควิด-19 ที่จะเป็นการนำเสนอความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานผลิตภัณฑ์และบริการเวลเนสของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีขอนแก่น เป็นศูนย์กลางในการดำเนินงานดังกล่าว
สำหรับการประชุม เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาเมือง และการเสนอทางออกการลงทุนระบบขนส่งมวลชนระดับเมืองหลังโควิด-19 ร่วมกัน ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Science Park) ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 ได้มี รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท. ให้เกียรติกล่าวเจตนารมณ์ของกิจการพัฒนาเมือง สร้างแรงผลักดันให้เมืองสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด มีทิศทางที่ชัดเจน และเมืองได้รับสนับสนุน ในการเติมเต็มสิ่งที่ยังเป็นข้อจำกัด พร้อมเน้นย้ำ ว่า บพท. เองก็พร้อมสนับสนุน หากกิจกรรม หรือโครงการใดโครงการหนึ่งได้จัดทำขึ้น เชื่อมโยงกับทุกพื้นที่ หรือเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของเมือง และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเชิงพื้นที่ต่อไปในอนาคตได้ ย่อมเป็นเรื่องที่ควรแก่การให้การสนับสนุนให้เกิดขึ้น สำหรับ บริษัท ขอนแก่น พัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด ดำเนินการโครงการขอนแก่นศึกษา Learning City ,สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย, กฎบัตรไทย, สมาคมการผังเมืองไทย,เครือข่ายเทศบาล และบริษัทพัฒนาเมือง ก็ถือเป็นการพัฒนาเมือง ที่เป็นรูปธรรมของการประสานความร่วมมือของภาคเอกชน ร่วมกับภาครัฐ โดยมี บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง หรือ เคเคทีที เป็นต้นแบบการทำงานที่มีผลงานที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนและมีการขยายไปตามเมืองต่างๆ ด้วยการสนับสนุนของ บพท. โดยเฉพาะโครงการขอนแก่นเมืองแห่งการเรียนรู้ ระยะที่ 1 และ 2 ได้สร้างโอกาสให้กับทุกคน โดยมี เคเคทีที เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนหลัก,โครงการขอนแก่น เมืองคาร์บอนต่ำ โดยเทศบาลนครขอนแก่น โครงการ Wellness City โดย สมาคมการผังเมือง
ด้าน รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ โปรแกรม 15 หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้มาเยือน ผู้นำที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองต่างๆ และผู้ที่อาสาเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการพัฒนาเมืองของตัวเองที่มาจากหลายหลายเมือง ประมาณ 22 เมือง ซึ่งถือว่ากิจกรรมในวันดังกล่าวนั้นเป็นการฉายฉากทัศน์การพัฒนาเมือง การเคลื่อนไหวของขอนแก่น ที่ได้มีการรวมพลนักพัฒนาเมือง นักสร้างการเปลี่ยนแปลง นักขับเคลื่อนเมือง ที่ไม่ทำเฉพาะจังหวัดตัวเองแต่เป็นการขับเคลื่อนนโยบายระดับประเทศ
ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อเป็นสะท้อนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ได้มีการบรรยายสรุปเรื่อง “ประสบการณ์การพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจของเทศบาล และบริษัทพัฒนาเมือง ช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2565” โดย คุณพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ ประธานกฎบัตรไทย คุณมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย อาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดี วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคุณสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ ประธานสภาเทศบาลนครสวรรค์และรองประธานกฎบัตรไทย ด้วย โดยมีวัตถุประสงค์ คือเพื่อสร้างการรับรู้ในการพัฒนาระดับท้องถิ่น และเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของเมือง
ต่อด้วยการเสวนาเรื่อง “การพัฒนาเมืองและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19” เพื่อร่วมกันหาทางออก และเดินหน้าออกแบบการลงทุนระบบขนส่งมวลชนที่ จ.ขอนแก่น หลังโควิดเริ่มคลี่คลาย โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย คุณภูษิต ไชยฉ่ำ รองนายกเทศมนตรีนครระยอง และกรรมการ บจก.ระยองพัฒนาเมือง คุณนพดล ธรรมวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บจก.สระบุรีพัฒนาเมือง พ.ท.วรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บจก.อุดรพัฒนาเมือง คุณสุเทพ ปัญญาสาคร กรรมการ บจก.สมุทรสาครพัฒนาเมือง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) อาจารย์สิทธิศักดิ์ ตันมงคล ประธานมูลนิธิทักษิณคดี หัวหน้าโครงการ Hatyai Learning City คุณกังวาน เหล่าวิโรจนกุล กรรมการและผู้ร่วมก่อตั้ง บจก.ขอนแก่นพัฒนาเมือง คุณวิชัย พูลวรลักษณ์ รองประธานกฎบัตรไทยและกรรมการสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย
และปิดท้ายด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ การสรุปการจัดงาน Awakening Khonkaen, การนำเสนอหัวข้อ Khonkaen Blockchain Digital และการเสวนาเรื่องโอกาสในการลงทุนเพิ่มพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและการพัฒนาเมือง ที่โรงงานผลิตรถไฟฟ้ารางเบาต้นแบบ บ.ช ทวี จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อสื่อสารว่าหากเมืองต่างๆ สามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพิ่มเติมจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบขนส่งมวลชนที่มีอยู่ ก็จะช่วยตอบโจทย์ประเทศที่กำลังมุ่งสู่การยกระดับการพัฒนาเมืองให้เป็น ทั้ง Smart City และ Digital City ต่อไปได้
วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 การประชุมปฏิบัติติการเรื่องการเตรียมการพัฒนานิเวศเศรษฐกิจเวลเนส และ Wellness Startup เขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามโครงการพัฒนาเขตนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพวิถีใหม่ เพื่อพลิกฟื้นประเทศไทยหลังโควิด-19 ที่จะเป็นการนำเสนอความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานผลิตภัณฑ์และบริการเวลเนสของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยมีขอนแก่น เป็นศูนย์กลางในการดำเนินงานดังกล่าว นั้น รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ได้กล่าวถึงกิจกรรมดังกล่าวว่า การนำเสนอขอนแก่น เป็นศูนย์กลางด้านเวลเนส ในระดับภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็น 1 ในแผนงานที่ บพท. ให้การสนับสนุนและมีการระดมความคิดและแนวทางการขับเคลื่อนแผนงานร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วยแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเวลเนสเพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดหรือ GPP,โครงสร้างพื้นฐานด้านการแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก,ระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของเศรษฐกิจเวลเนส นอกจากนียังคงมีการแบ่งกลุ่มปฎิบัติการในรูปแบบของธุรกิจเวลเนส โครงสร้างพื้นฐานและซับพลายเชน รวมทั้งการเยี่ยมชมสถานประกอบการ Wellnesd Hotel ที่ดำเนินการจัดตั้งแล้วที่ จ.ขอนแก่น
อนึ่ง “ขอนแก่น” ถูกขนานนามว่าคือศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประชากรอาศัยอยู่ราว 1,790,863 คน จากข้อมูลของกรมการปกครอง ปี 2564 มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ (GDP) แสนล้านบาทต่อปี และยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วยด้านคมนาคมและการขนส่ง มีความเพียบพร้อมในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่ระบบราง มีสถานีรถไฟรางคู่ลอยฟ้าที่สถานีบ้านไผ่ และมีแผนพัฒนารถไฟฟ้าความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (TOD) สำหรับท่าอากาศยานขอนแก่นก็กำลังมีแผนพัฒนาเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ และมีถนนมิตรภาพซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคอีสาน ทำให้ขอนแก่นพร้อมทุกการเชื่อมต่อด้านคมนาคมและการขนส่งทั้งในและต่างประเทศ
ด้านการศึกษา มีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีชื่อเสียงในระดับภูมิภาค มีศูนย์วิจัยและสถาบันด้านเกษตรกรรมและอาหาร พร้อมให้นักศึกษาได้ทดลองและสร้างองค์ความรู้ต่างๆ เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ Innovation Hub KKU
ด้านการเกษตร มีพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกว่า 4,218,584 ไร่ จากข้อมูลของ สศก. ปี พ.ศ. 2562 จึงไม่แปลกเลยที่จะมีความโดดเด่นด้านเกษตรกรรมและมีการพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น อาหารพลังงานทางเลือกจากแมลง
ด้านเศรษฐกิจ เกิดความร่วมมือของหน่วยงานรัฐและภาคประชาชนที่แข็งแกร่งคือ ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที), หอการค้าจังหวัดขอนแก่น, สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น และองค์กรพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดอีกมากมาย ซึ่งองค์ประกอบทั้งหมดนี้ส่งผลให้จังหวัดขอนแก่นมีความพร้อมสูงเพื่อพัฒนาสู่การเป็นเมืองนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ























