OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของทิศทางการขับเคลื่อนพัฒนาเมืองสกลนคร

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เข้าร่วมในกิจกรรมของ พัฒนาแผนการวิจัยและแผนการพัฒนาพื้นที่ให้สอดรับกับบริบทของพื้นที่ในจังหวัดสกลนคร กับกิจกรรม “ทิศทางการขับเคลื่อนพัฒนาเมืองสกลนคร

เมื่อวันอังคารที่ 11 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) นำโดย รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการ บพท. พร้อมด้วย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยนวัตกรรม โปรแกรมที่ 15 บพท. และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร และหน่วยงานราชการในจังหวัดสกลนคร ได้จัดการเสวนาเรื่อง “ทิศทางการขับเคลื่อนพัฒนาเมืองสกลนคร” ขึ้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เพื่อพัฒนาแผนการวิจัยและแผนการพัฒนาพื้นที่ให้สอดรับกับบริบทของพื้นที่ในจังหวัดสกลนคร และเกิดการบูรณาการที่สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ รวมถึงเป็นการแลกเปลี่ยนและวางแนวทางการขับเคลื่อนกลไกงานวิจัยให้เกิดรูปธรรมเชิงพื้นที่ในจังหวัดสกลนคร ภายใต้ความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษาในพื้นที่ และภาคีเครือข่ายในการพัฒนาเมือง โดยกิจกรรมในวันดังกล่าวได้มีวิทยากรร่วมเสวนาได้แก่ นายชานน วาสิกศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร นายเสงี่ยม พ่อธานี รองนายกเทศมนตรีสกลนคร ผศ.ชาคริต ชาญชิตปรีชา รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ผศ.ดร.วัชรพงษ์ อินทรวงศ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร ดร.เชวง สารคล่อง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร นายประพันธ์ เตชะสกลกิจกูร ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดสกลนคร และ ศ.ดร.ทศวรรษ สีตะวัน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นผู้ดำเนินรายการ

ด้าน รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยนวัตกรรม โปรแกรมที่ 15 บพท. และในฐานะผอ.ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วปท.มข. ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดประชุมว่า ที่ผ่านมาคนจะกระจุกตัวอยู่ที่กรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดสภาวะเหลื่อมล้ำเกิดขึ้น การที่กระจุกตัวจะทำให้ไม่สามารถสร้างโอกาส เราจะทำอย่างไรให้เมืองตามภูมิภาคต่าง ๆ จะสามารถรองรับการสร้างอาชีพ สกลนครจึงเป็นเมืองหนึ่งที่เหมาะในการสร้างงาน สร้างเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับเมืองให้เท่าเทียมและไม่น้อยไปกว่ากรุงเทพมหานคร และจะทำอย่างไรให้ความรู้การพัฒนาเมืองเข้าถึงสังคมต่าง ๆต่อมาผู้บริหารของทั้ง 3 มหาวิทยาลัยในจังหวัดสกลนคร ก็ได้กล่าวถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาพื้นที่ด้วยเช่นเดียวกันว่า ผศ.ชาคริต ชาญชิตปรีชา รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ภารกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนครคือการผลิตบัณฑิต ทำงานวิจัย งานวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สิ่งที่มหาวิทยาลัยทำคือการยกระดับชีวิตของคนในพื้นที่ให้ดีขึ้น โดยการผลิตบัณฑิตในพื้นที่เพื่อให้คนในพื้นที่ได้พัฒนาพื้นที่ของตนเอง และจะเกิดเป็นความมั่นคงทางสังคม ผศ.ดร.วัชรพงษ์ อินทรวงศ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร ได้กล่าว 2 ประเด็น คือ 1.ภาพรวมและนโยบายของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนครเป็นมหาวิทยาลัยที่เล็กที่สุดในวิทยาเขตของเกษตรศาสตร์ มีนักศึกษาประมาณ 6,000 คน หรือ ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นโยบายปัจจุบันคือการพัฒนาส่วนต่างๆ เช่น Start up เกษตรศาสตร์มีพื้นที่รวม 4,000 ไร่และมี ระบบ Lab ต่าง ๆ การพัฒนา food science สิ่งที่เราพัฒนามา 2 ปีในตอนนี้คือ พืชกัญชา วิจัยกันชงและกระท่อม แต่อยู่ภายใต้การควบคุมต่าง ๆ 2. สิ่งที่สำคัญคือการกำหนด direction ของจังหวัดที่ต้องเชื่อมโยงกับต่างประเทศและการทำงานของรัฐบาลทิศทางต่าง ๆ ตรงนี้เป็นส่วนสำคัญ ควรวิเคราะห์ direction ของจังหวัด จะต้องไม่คาบเกี่ยวกันกับจังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร หรือ จังหวัดอื่น ๆ เพราะจะเป็นการแย่งตลาดกันเอง อยากให้แบ่งวิธีการทำงานกัน หลังจากนั้นถึงจะใส่นวัตกรรมเข้าไป และ ดร.เชวง สารคล่อง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร มองว่าทั้ง 3 มหาวิทยาลัยถ้าทำงานร่วมกันจะเกิด Impact มหาศาล ในการช่วยกันผลักดันขับเคลื่อน มทร. มี 4 พันธกิจหลักมองเรื่องการสร้างคนเป็นนักนวัตกรรม ที่พร้อมใช้เป็นนักปฏิบัติ งานวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีที่จะเกิดประโยชน์ได้ กรอบของ มทร.เน้นเรื่อง food safety และ use security และการพัฒนาเรื่องของ Human resources, Leadership for change เพราะ มทร. ก็เป็น Local universityด้วยเหมือนกัน

ขณะที่ นายประพันธ์ เตชะสกลกิจกูร ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดสกลนคร พูดถึงทุนทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญที่จะพัฒนาคนในพื้นที่อย่างไร สกลนครเป็นจังหวัดที่มีเขตติดต่อหลากหลายที่เราต้องการเชื่อมโยง 18 อำเภอ ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเกิดการจัดการเชื่อมพื้นที่ โดยใช้ทรัพยากรมนุษย์เป็นฐาน สิ่งเราไม่ต้องกังวลเรื่อง hardware เพราะเรามีทรัพยากรที่สำคัญ แต่สิ่งที่กังวลคือ software หรือ Know How ยกตัวอย่างถนนหมายเลข 12 ที่เป็นพื้นที่มีทรัพยากรมากและเป็นถนนที่ออกทะเลใกล้ที่สุดและเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่จะออกทะเลไปเชื่อมกับทางรถไฟประเทศเราก็ควรจะมีการใช้มนุษย์เป็นฐานไปสู่จุดเชื่อมโยง

โดยที่ นายแพทย์สมบูรณ์ จิระวัฒนาสมกุล ก็ได้พูดถึงเรื่องทุนมนุษย์เช่นเดียวกัน การสร้างกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ให้เกิดการรักถิ่นฐานและสร้างสังคมให้น่าอยู่ความเสี่ยงต่ำและเป็นสังคมที่ยั่งยืน เพื่อไม่ให้เด็กเหล่านี้กลับไปทำงานที่กรุงเทพฯอีกสิ่งที่สำคัญคือ “คน” ที่จะพัฒนาคือ เด็ก ม.5-ม.6 แต่คงไม่เพียงพอแล้ว ต้องเริ่มปลุกฝังตั้งแต่ปฐมวัย ขณะนี้ได้พัฒนาแล้ว 120 จุด ซึ่งตรงกับยุทธศาสตร์ชาติคือ พัฒนาเด็กปฐมวัยด้วย ต่อมาเรื่องสิ่งแวดล้อม บางที่น้ำน้อยเราได้พัฒนาการเลี้ยงปลาด้วยระบบไบโอฟลอค ซึ่งใช้ปริมาณน้ำที่น้อยในการเลี้ยงปลา จังหวัดสกลนครเป็นจังหวัดที่อุดมไปด้วยสิ่งแวดล้อม มีคน มีอาหารและมีป่า ในการขับเคลื่อนแต่สิ่งที่ยังขาดคือ Database

ต่อมา นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน ข้าราชการบำนาญ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พูดยกตัวอย่างสิ่งที่สกลนครได้ทำแล้วคือ “ป่าเศรษฐกิจครอบครัว” ให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าคุณภาพสูง เป็นป่าที่ไม่เหมือนป่าสงวน ป่าชุมชน แต่เป็นป่า นส.3 มีโฉลด เป็นของบุคคล เรามีป่าเศรษฐกิจของครองครัวที่มีอยู่แล้วและกำลังสร้างใหม่เกิดขึ้นประมาณ 3,000 กว่าไร่ 80 กว่าครอบครัวได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว เรามีการสร้างความมั่นคงด้านอาหารที่ปลอดภัยเชิงพาณิชย์ เราผลิตโปรตีนในราคาถูกใช้น้ำน้อยนั่นคือ ทำฟาร์มปลาระบบปิดใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่เรียกว่า “ไบโอฟลอค” การจัดการน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน เราเรียกว่า “เทคโนโลยีธนาคารน้ำใต้ดิน” เราได้ดำเนินการไปแล้วหลายอำเภอ หลายจังหวัดในภาคอีสาน ตัวนี้จะทำให้ภาคอีสานมีน้ำของเป็นตนเอง และมีการพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ โดยการร่วมมือของมหาวิทยาลัยกับมูลนิธิ BCL ให้เขาสามารถทำงานในลักษณะ Outsource เรียนจบแล้วมีงานทำเป็นของตนเอง ไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างให้ทำเป็นของตนเองผลิตอาหารที่คุณภาพดี สิ่งที่จะพัฒนาต่อไป คือ การท่องเที่ยวแบบ adventure digital ใช้ระบบ GPS เที่ยวในป่าเป็นการท่องเที่ยวแบบใหม่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ และเรือไฟฟ้าใช้พลังงานโซล่าเซลล์คุมด้วยระบบ GPS เป็นแนวคิดการท่องเที่ยวแบบใหม่ สิ่งที่จะทำให้เกิดตรงนี้ได้ต้องใช้ innovation กับ human resources ควบคู่กัน และนายชานน วาสิกศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ได้พูดโครงการใหญ่ ๆ ที่หน่วยงานราชการได้ดำเนินการคือ “โค ข้าว เม่า ปลา” เรื่องที่หนึ่ง โคขุน เราจะเป็น Hub ของโคขุนในระดับพรีเมี่ยม เริ่มตั้งแต่ การติดชิป ฝังชิป  รวมถึงการคัดเลือกสายพันธุ์ ดูเรื่องไขมันแทรกเนื้อแดง เรื่องที่สอง ผ้าคราม จะพัฒนาผ้าครามที่มีอยู่แล้วให้สวยงามได้มาตรฐาน เป็นที่นิยมไปขายต่างชาติได้ ส่งออกนอกประเทศได้ เรื่องที่สาม Hub ของศูนย์สุขภาพเราประสานงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่จะทำ    อุทยานบัวเฉลิมพระเกียรติให้เป็นศูนย์สุขภาพ เช่น ทำสถานที่ทำกายภาพ เวชศาสตร์ฟื้นฟู และเรื่องที่สี่โครงการท่องเที่ยว หอชมเมือง ที่เมืองเก่าจุดแม่เหล็กคือบ้านหนองหานที่จะพัฒนาดึงดูดนักท่องเที่ยวต่อไป

นายเสกสรร ชนาวิโชติ ประธานหอการค้าจังหวัดสกลนคร ได้เสริมว่าด้วยพื้นที่จังหวัดสกลนครมีสถาบันทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาถึง 3 แห่ง เราพยายามให้ความสำคัญด้านการศึกษา เคยมีการเสนอให้สกลนครเป็น Sand Box นวัตกรรมทางการศึกษา อยากให้นำตรงนี้มาขยายผลและเอามากระจายในพื้นที่ทั่วของจังหวัด การจะทำให้สกลนครเป็นเมืองน่าอยู่ หรือ smart city ตรงนี้ควรเริ่มจากเขตเทศบาล เพราะปัญหาตอนนี้คือ เมืองเกิดการเติบโตแบบกระจัดกระจาย การให้บริการของรถโดยสารสาธารณะ ความสะดวกต่าง ๆ ทำให้เราต้องเสียงบประมาณในการจะให้ความสะดวกเหล่านั้นเข้าถึง สาเหตุการเติบโตของเมืองที่กระจายออกไปคือ รถโดยสารธารณะ มองว่าปัญหาตอนนี้มีเพียง 3 สาย ให้บริการไม่ครอบคลุมและวิ่งไม่เป็นเวลา จะทำอย่างไรให้มีการโดยสารที่เป็นระบบ เมื่อมีรถโดยสารที่เป็นระบบก็จะนำไปสู่การพัฒนาการกระจายให้อยู่รอบ ๆ เพื่อทำให้คนอยู่รวมกันมากขึ้น ทางหน่วยงานสาธารณะเองก็สามารถบริการได้ดีขึ้น ประเด็นตรงนี้ก็จะรวมไปถึงการทำให้เมืองเอื้ออำนวยต่อการเดินด้วย มีทางเท้า ถนนสำหรับรถจักรยาน  ผู้คนจะใช้ชีวิตช้าลง ออกมาเดิน มาใช้บริการรถสาธารณะมากขึ้น สิ่งเหล่านี้มองว่าควรจะต้องทำ ซึ่งเราเห็นภาพได้จากโมเดลเมืองต่าง ๆ ในต่างประเทศ อย่างในประเทศไทยที่มองเห็นได้ก็คือ เมืองเลย ที่มีระบบรถโดยสารวิ่งเป็นวงกลม ผ่านไปสถานที่ต่าง ๆ และ แหล่งท่องเที่ยวด้วย และการจะเป็นเมืองน่าอยู่ก็ต้องมีพื้นที่สีเขียวเยอะ ๆ ด้วย ยกตัวอย่างงาน “สกลจังซั่น” เป็นการดึงเอาศักยภาพทางทุนวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ที่กระจาย ๆ อยู่ภายในเมือง ที่จัดงานแบ่งออกเป็น 5 จุด ให้คนเดินเที่ยวชมตามจุดต่าง ๆ คนในเมืองออกมาใช้ชีวิตบนท้องถนน เดินเที่ยวใน 5 ย่าน จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง มันสะท้อนให้เห็นว่า เรามีดีแต่ยังไม่สามารถทำให้มันเชื่อมโยงกันได้ ก็ย้อนกลับไปที่ เรามีรถสาธารณะให้บริการหรือไม่ มีทางเท้าที่ดีหรือไม่ หรือผู้ประกอบการชาวท้องถิ่นที่คอยให้บริการที่บ้านเขาเองหรือไม่ มองว่าต้องนี้ควรย้อนกลับมาทำให้เป็นเมืองน่าอยู่ คนก็จะกลับมาอยู่ในเมืองมากขึ้น แทนที่จะไปอยู่ต่างจังหวัด หรือเมืองใหญ่ ๆ ประเด็นการพัฒนาคน คนวัยเด็กตอนนี้เรียนระบบออนไลน์แบบ New Normal ควรจะสร้างผู้ให้บริการด้านการศึกษา คนที่จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์มีการเก็บข้อมูล เวลาและความชอบของผู้เรียน คนวัยผู้สูงอายุ การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้ผู้สูงอายุสามารถมีรายได้ด้วยตนเอง สถานประกอบการจะต้องใส่เรื่องผู้สูงอายุให้สามารถใช้บริการได้ด้วยตนเอง อาชีพผู้ประเมินความสามารถของผู้สูงอายุก็ควรมี เพื่อเข้าไปพูดคุยทำแบบประเมิน ทำ Digital Academy จะทำอย่างไรให้ผู้คนในเมืองได้รับรู้เรื่องนี้ ด้าน นางละมุน เร่งสมบรูณ์ กรรมการอาวุโสหอการค้าจังหวัดสกลนคร ก็ได้ให้ข้อมูลว่า สภาหัตถกรรมโลกของ UN แต่งตั้งให้สกลนครเป็นจังหวัดที่ทำสีย้อมครามธรรมชาติที่ได้รับการยอมรับในระดับ World class การทำสีผ้าย้อมครามเป็นความเข้มแข็งของชุมชนที่ได้รับการยอมรับและนำไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้าน green products และการทำผลไม้ตามฤดูกาลที่มาแปรรูปบรรจุลงขวด เพื่อส่งออกการทำไวน์หมากเม่า น้ำหมากเม่าเพื่อสุขภาพและมีการพัฒนา packaging ที่ย่อยสลายได้ภายในหนึ่งปี จุดแข็งของจังหวัดสกลนครกัญชาดีที่สุดในโลก มีสถาบันการศึกษาวิจัยอาหารและยา สมุนไพร  กัญชา มี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธ์ภูพาน  และพันธุ์หางเสือ สามารถนำไปทำยารักษาโรคมานานกว่า 100 ปี มีป่าอุดมสมบูรณ์ป่าเศรษฐกิจครอบครัว มีทรัพยากรคนที่จบการศึกษาระดับสูงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศและอนาคตเตรียมทำ Coin จะร่วมกันกับ digital sandbox

ต่อมา นายเสงี่ยม พ่อธานี รองนายกเทศมนตรีสกลนคร ได้พูดถึงการทำงานของส่วนเทศบาลว่าเทศบาลมีต้องการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงส่วนราชการ ได้เอาความต้องการของประชาชนมาทำเทศบัญญัติตอนนี้ได้มีคาราวาน และ อสม. ไปเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียงโรงเรียนเทศบาลจะรับเด็กทุกดับเป็นนโยบายของท่านนายกจะไม่เก็บเงินค่าสอนพิเศษเด็ก ทั้งประถมและมัธยมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในทุกเรื่องและสร้างโอกาสให้กับประชาชน สื่อมวลชนที่เข้าร่วมเสวนา ได้พูดถึงบทบาทหน้าที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารวิชาชีพความรู้ความบันเทิงของชีวิตประชาชน สุขภาพชุมชนและสารคดี จังหวัดสกลนครเป็นสังคมผู้สูงอายุและมีผู้ป่วยติดเตียงจะอยู่บ้านเป็นแฟนวิทยุซะส่วนใหญ่ ในหน้าที่ของสื่อต้องมีสร้างความเป็นมิตร ความเชื่อที่มีต่อสื่อมวลชน ประชาชนชาวสกลนครจะให้ความสำคัญกับข่าวพยากรณ์อากาศเป็นส่วนมากเพราะมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพ และทำหน้าที่การสื่อสารกับพี่น้องประชาชน พี่น้องประชาชนอาจไม่ได้รับข้อมูลเรื่องผลงานวิจัยต่าง ๆ สื่อมวลชนยินดีที่จะร่วมมือเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้

ด้าน นายนฤทธิ์ คำธิศรี ได้กล่าวถึงความยั่งยืนของทรัพยากรมนุษย์ต้องการปลูกฝังเด็กให้เรียนรู้และตระหนักถึงทรัพยากรที่มีคุณค่าของสกลนคร รากเหง้าของตนเองอย่างเข้มข้น จึงเกิดเป็นโปรเจ็คเด็กตั้งแต่ อ.1 – ม.3เด็กอนุบาลจะเรียนรู้เรื่องนมใช้เวลาระยะเวลาในการเรียนรู้นานถึง 1 ปีป.3 จะเรียนรู้เรื่องป่า ต้องเข้าป่า ศึกษาป่า นอนกับครอบครัวในป่า ใกล้ชิดธรรมชาติ เด็กๆ จะเรียนรู้ทุกเรื่องของจังหวัดสกลนคร ป่า น้ำ ให้เด็กได้รู้ถึงรากเหง้าของตนเอง คนที่เรียนรู้รากเหง้าของตนเองจะกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง โปรเจ็คเด็กเป็นต้นแบบไปสู่สังคมต่างๆ อาจารย์ มรภ.สกลนคร ได้กล่าวเสริมเรื่องทรัพยากรมนุษย์ว่า สกลนครกำลังขาดทรัพยากรมนุษย์เพราะอายุคนในสกลนครเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เกิดจากการเปลี่ยนผ่านช่วงอายุ เรากำลังสูญเสียวัยแรงงานมากขึ้น เพราะคนเข้าไปในพื้นที่เมือง จะทำอย่างไร ให้คนรุ่นเก่ากลับมา คนรุ่นใหม่ไม่ออกไป สกลนครไม่มี Platform ที่จะรองรับคนรุ่นใหม่นี้ ถ้าเราออกแบบเมืองให้เข้ากับคนรุ่นใหม่ให้เราสร้าง main point ของตนเองว่าเราจะเป็นอะไร เราต้องสร้าง space ของเราเอง space แบบใหม่เป็นการรวมคนให้เข้ากับ lifestyle ให้เกิดการรวมคนที่เป็นวัยรุ่นจะเกิดโลจิสติกส์ สร้างพื้นที่การเรียนรู้ พื้นที่สาธารณะ เกิดพื้นที่แห่งโอกาส โครงสร้างพื้นฐานขนส่งมวลชนและโครงสร้างตลาด  ดร.สนธยา หลังทอง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตสอง พูดถึงบทบาทหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตสองว่า ได้มุ่งเน้นพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์  3 ด้านคือ 1.การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อนำไปสู่โอกาสสร้างอาชีพ 2.เมืองแห่งโอกาสและความสุข 3.พัฒนาครู สุดท้าย นางสัจจา ฝ่ายคำตา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสกลนคร ได้กล่าวว่า สกลนครถือเป็นจังหวัดที่ได้เปรียบจังหวัดอื่น เพราะมี ร.9 ทรงงานมากที่สุดในประเทศ ถึง 109 ครั้ง มีศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน สกลนครเป็นเหมือนตัวแทนจังหวัดอื่น ๆ เรื่องศาสตร์พระราชา อยากให้คงไว้เรื่องศาสตร์พระราชาตรงนี้ไว้

ข้อเสนอแนะ (เมธตา  นาศรี)

การพัฒนาเมืองสกนคร  หมายถึงการพัฒนาเขตเมือง มองว่า ….

  1. ด้านเมืองที่น่าอยู่ ต้องสะอาด มีสุขภาวะ สุขอนามัย สุขภาพจิตที่ดี เช่น ความสะอาด การจัดการขยะ บางจังหวัด แทบไม่มีถังขยะ ควรนำต้นแบบการจัดการขยะชุมชน เช่น ชุมชนบ้านบะขาม ที่ขอนแก่น การจัดระเบียบร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม แหล่งชม ชิม ช็อป เพื่อรองรับให้คนมาท่องเที่ยว เช่น จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
  2. สินค้าโดดเด่น ที่จะสร้างรายได้หลักเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ควรมีการสินค้าหลัก เช่น ผลิตภัณฑ์หลัก  คราม ผ้าคราม สีคราม ต้นคราม ร่วมทำการวิจัย สำรวจ ทำฐานข้อมูลร่วมกับ 3 มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาต้นน้ำถึงปลายน้ำ การสกัดสาร ที่ได้จากคราม รวมไปถึงแหล่งผลิตต้นคราม เพราะเป็นวัตถุดิบที่ต้องมีตลอดทั้งปี อาจมองถึงการแหล่งปลูกครามที่ดีที่สุด เชื่อมเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติได้ด้วย เพราะครามคือรายได้ที่นำเข้ามาสู่จังหวัด ควรทำการประชาสัมพันธ์ ให้มีกิจกรรมในจังหวัดทุกเดือน ตลอดทั้งปี ให้คนสนใจมาเที่ยวเมืองสกลนคร (ตัวอย่างบุรีรัมย์มีเทศกาลแต่ละเดือนให้คนหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาด) ผลิตภัณฑ์รอง  สินค้ารอง  ต้องเตรียมความพร้อมรองรับคนที่เดินทางมา สร้างความประทับใจ ให้อยากกลับมา ให้ไปเล่าต่อ
  3. ที่พัก โรงแรม สวนสาธารณะ ที่พักผ่อนหย่อนใจ ต้องมีเส้นทางเชื่อมโยง
  4. การเดินทาง เส้นทางคมนาคม ทางบก ทางอากาศ รองรับการเดินทางที่สะดวก แผนที่ชมเมือง พิกัดสถานที่ที่จะไปท่องเที่ยว อาจจะมีไกด์ เพื่อเล่าเรื่องราวสร้าง Story อาจจะใช้คนสูงวัยมาเล่าเรื่องให้คนรุ่นหลังฟัง หรือ สร้างหนังสั้น ให้คนได้รับรู้เรื่องราว (มหาวิทยาลัย 3 แห่ง มีนักศึกษาที่มีศักยภาพ ทำได้)
  5. อาหารการกินที่ขึ้นชื่อ โคขุนโพนยางคำ น้ำหมากเม่า ข้าวหลายสายพันธุ์ ทำเป็น Street Food หรือ เทศกาลของดีเมือง 3 ธรรม
  6. บทบาทมหาวิทยาลัยกับการพัฒนาพื้นที่ 
  7. 3 มหาวิทยาลัย ควรสร้าง MOU ร่วมกัน จะนำความรู้อะไรงานวิจัย นวัตกรรมอะไร (What) ไปพัฒนาพื้นที่ ผลงานวิจัยใช้ได้จริงไหมโดยพิจารณาจากบริบทของพื้นที่ และทำไม (Why) ต้องเป็นองค์ความรู้นั้น เพื่อตอบได้ว่าองค์ความรู้เทคโนโลยี นวัตกรรมเหมาะสมกับพื้นที่
  8. การทำงานร่วมกับพื้นที่ควรเป็น One Stop Service (OSS) คณะอาจารย์มีหลากหลายสาขาแต่ละคนแต่ละคณะไม่เคยทำงานร่วมกัน การลงไปพื้นที่ควรไปพร้อมกัน เพื่อรบกวนเวลาชาวบ้านน้อยที่สุด ปัญหาการทำงานคือ อาจารย์มีเวลาจำกัด ชาวบ้านก็มีภารกิจ กิจวัตร เวลาหลัง 09.00 ก่อน 15.00 น. (ภารกิจมากส่งหลาน-รับหลาน)