OPSCD COLA KKU ร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามในการรับทุนวิจัย ระหว่าง มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับ 60 อปท.

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น Operations and Promotion Center for Livable Smart City Development (OPSCD COLA KKU) ร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามในการรับทุนวิจัย ระหว่าง มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 60 แห่ง ภายใต้โครงการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ หลักสูตรประกาศนียบัตรนักพัฒนาเมืองระดับสูง (พมส.) รุ่นที่ 1

          วันอังคารที่ 7 มีนาคม 2566 ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น Operations and Promotion Center for Livable Smart City Development (OPSCD COLA KKU) ส่งเสริมวิชาการที่เป็นเลิศด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และเสริมสร้างความยั่งยืนในประเทศไทย โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ในฐานะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ บพท. ได้ร่วมเป็นสักขีพยาน ในพิธีลงนามในการรับทุนวิจัย ระหว่าง มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 60 แห่ง ภายใต้โครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ของมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยมี นายอุดร ตันติสุนทร ผู้ก่อตั้งมูลนิธสิ่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทุนเด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประจำปีงบประมาณ 2565 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร พร้อมมีผู้บริหารท้องถิ่น พร้อมภาคีพัฒนาพื้นที่จากทั่วประเทศกว่า  160  คนเข้าร่วมอย่างเนื่องแน่น

          โดยในพิธีดังกล่าวได้มี นายอุดร ตันติสุนทร ประธานมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวแสดงเจตนารมณ์ของมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นถึงการเปิดหลักสูตรนี้ขึ้นมา รวมถึงได้รับเกียรติจาก นายสมชาย รังสิวัฒนศักดิ์ นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย กล่าวถึงพหุภาคีในการพัฒนาเมือง ในงานนี้ ศ.นพ. กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกริก นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังได้ตอกย้ำให้เห็นอีกว่า การยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยข้อมูล ความรู้ และความร่วมมือระดับประเทศ และเป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำ ปฏิบัติการบนฐานงานวิจัย ผลิตบัณฑิต บริการวิชาการ และบริหารเครือข่าย เชื่อมโยงทั้งหลักสูตรในระบบ และการศึกษาตลอดชีวิต ทั้งหมดคือ เรื่องเดียวกัน

          ด้าน รศ.ดร. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และรศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ  ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ บพท. ยังได้ให้เกียรติกล่าวถึง ความคาดหวังที่มีต่อโครงการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ในฐานะหน่วยงานผู้ให้ทุน จากนั้น คุณวีระวัฒน์ รัตนวราหะ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ได้ให้เกียรติกล่าวในฐานะเครือข่าย ยกระดับเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ ด้วยกลไกความร่วมมือ เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์ ในหัวข้อ “ร่วมอยู่ ร่วมสร้าง ร่วมเจริญ พันธกิจใหม่ของเอกชนไทย”  

          จากนั้นเป็นพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) ว่าด้วย โครงการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ ระหว่าง มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 60 แห่ง โดยได้รับเกียรติจาก นายจาดุร อภิชาตบุตร อดีตรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพภาครัฐ ร่วมให้เกียรติเป็นสักขีพยานด้วย

          อนึ่ง มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ชี้แจงแนวทางการสนับสนุนทุนวิจัย ภายใต้โครงการ “การยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ” มูลนิธิส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น โดยการสนับสนุนทุนวิจัยของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประจำปี งบประมาณ 2565 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยมี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/นักวิจัยที่สนใจ ยื่นข้อเสนอโครงการ เพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยและกำหนดปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัย เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566 ซึ่งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/นักวิจัย ที่ผ่านการพิจารณา จากที่ประชุมคณะกรรมการฯ และผู้เชี่ยวชาญ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 จำนวน 60 โครงการ อันประกอบด้วย โครงการของเทศบาลเมืองแม่โจ้ เทศบาลเมืองลำพูน เทศบาลเมืองแพร่ เทศบาลตำบลเชียงม่วน เทศบาลตำบลนางแล เทศบาลตำบลแม่จัน เทศบาลตำบลเวียงเทิง เทศบาลตำบลเกาะคา เทศบาลตำบลศรีพนมมาศ เทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง เทศบาลตำบลบ้านกลาง เทศบาลนครรังสิต เทศบาลนครนครสวรรค์ เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ เทศบาลเมืองตาคลี เทศบาลตำบลลำพญา เทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลนครอ้อมน้อย เทศบาลนครปากเกร็ด เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน เทศบาลเมืองสามพราน เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี เทศบาลเมืองสระบุรี เทศบาลเมืองเสนา เทศบาลตำบลดงขุย เทศบาลตำบลนาดี เทศบาลตำบลลาดยาว เทศบาลตำบลวิหารแดง เทศบาลตำบลหนองม่วง เทศบาลตำบลหนองเสือ เทศบาลตำบลคลองลานพัฒนา เทศบาลตำบลแพรกษาเมืองพัทยา เทศบาลเมืองพนัสนิคม เทศบาลเมืองตราด เทศบาลตำบลท่าม่วง เทศบาลตำบลท่ายาง เทศบาลตำบลพระแท่น เทศบาลตำบลศรีดอนไผ่ เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลเมืองมหาสารคาม เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เทศบาลตำบลหนองกี่ เทศบาลตำบลละหานทราย เทศบาลเมืองศรีสะเกษ เทศบาลตำบลคอนสวรรค์ เทศบาลตำบลบ้านเพชร เทศบาลตำบลบ้านเพชรภูเขียว เทศบาลตำบลห้วยเม็ก เทศบาลตำบลเมืองเก่า องค์การบริหารส่วนตำบลบัวเงิน เทศบาลนครยะลา เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลเมืองกันตัง เทศบาลเมืองปัตตานี เทศบาลเมืองสะเดา เทศบาลตำบลบ้านนา เทศบาลตำบลเหนือคลอง และเทศบาลตำบลเกาะแต้ว

          และได้มีการจัดประชุมพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย พร้อมเชิญหัวหน้า โครงการมานำเสนอรายละเอียดข้อเสนอโครงการวิจัยต่อคณะกรรมการฯ และผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้โครงการการยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้และความร่วมมือระดับประเทศ เมื่อวันที่ 11-12 มกราคม พ.ศ. 2566 อันมีเกณฑ์การพิจารณา ประกอบด้วย 1) โครงการวิจัยมีรูปธรรมของความร่วมมือที่ชัดเจนเพื่อบ่งชี้ถึง พันธะทางการเมือง (Policy Commitment) อาทิเช่น การสนับสนุนงบประมาณ บุคลากร หรือ วัตถุประสงค์ ต่าง ๆ ในการดำเนินโครงการ 2) โครงการวิจัยมีการวิเคราะห์บริบทปัญหาและความต้องการของพื้นที่วิจัย เป้าหมายที่ชัดเจน 3) โครงการวิจัยมีรูปธรรมความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้ (นอกเหนือจาก digital infrastructure) และ 4) โครงการวิจัยมีกลไกความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่  

          จากนั้นเป็นพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วย การพัฒนาและเผยแพร่แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง ระหว่าง มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับ บริษัท เอไอ แอนด์โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 60 แห่ง และปิดท้ายด้วยการชี้แจงแนวทางการจัดทำรายงานการเงินโครงการวิจัย โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 60 แห่ง อันมีนักวิจัยคือ ผู้ลงมือปฎิบัติการพัฒนาเมือง นำโดยนายกเทศมนตรี ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย นักวิจัยร่วมกว่า 1,000 คน เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของการจัดทำรายงานการเงินตามมาตรฐานของ บพท. ให้มีความถูกต้องครบถ้วน