บพท. เชิญนักวิจัย OPSCD COLA KKU ร่วมพิจารณารายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 ภายใต้แผนงานการพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เชิญ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ  นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ บพท. ร่วมพิจารณารณารายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 ภายใต้โปรแกรมที่ 15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” และแผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่กลไก พัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างความเจริญและลดความเหลื่อมล้ำ ประจำปีงบประมาณ 2565

เมื่อกลไกหนึ่งที่ช่วยให้การดำเนินการวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และสามารถนำผลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ การนำเสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ ต่อคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อรับฟังและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการวิจัย ดังนั้นในระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จึงได้กำหนดจัดการประชุมการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 1 “กรอบทาบทามงานวิจัย” ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” และแผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อนำไปสู่กลไก พัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างความเจริญและลดความเหลื่อมล้ำ ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้น ณ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กทม. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณารายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยครั้งที่ 1 (ระยะ 4 เดือน และ 6 เดือน) ภายใต้แผนงานริเริ่มสำคัญ (Flagship) “การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่” โปรแกรมที่ 15 พัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ โดยใช้ วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมประจำปีงบประมาณ 2565 พร้อมกันนี้ยังได้มีการเชิญ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ  นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU ในฐานะ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ บพท. ร่วมพิจารณารณารายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 ครั้งนี้ด้วย

          สำหรับการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการนี้ คณะกรรมการจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในฐานะหน่วยงานผู้ให้ทุน ประกอบด้วย รศ.ดร. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) พร้อมด้วย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ บพท. และ ผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ดร.สมคิด แก้วทิพย์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดร.นนท์ อัครประเสริฐกุล ฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดร.ชลิตดา มัธยมบุรุษ รักษาการรองผู้อำนวยการสำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมพระจอมเกล้าลาดกระบัง และ รศ.ดร.พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาเครือข่าย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ให้เกียรติรับฟังและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการวิจัย และเพื่อให้การดำเนินการวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และนำผลที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม

          โดยในวันพฤหัสบดี ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566

การนำเสนอรายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 กรอบการวิจัย “กลไกการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินและการจัดการทุนของเมือง (Urban Financial Institution and Instrument)” จำนวน 2 โครงการ นี้ ประกอบด้วย

          โครงการที่ 1 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 3 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาแนวทางการบริหาร จัดการกองทุนเพื่อการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม โดย ดร.ศิญาณี หิรัญสาลี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย

          โครงการที่ 2 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 4 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “ระบบเทคโนโลยีเพื่อการเสริมสภาพ คล่องทางการเงินของผู้ที่ได้รับผลกระทบหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” โดย นายปัญญา เกิดศักดิ์ ณ แวงน้อย บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด หัวหน้าโครงการวิจัย

การนำเสนอรายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 กรอบการวิจัย “กลไกด้านการพัฒนาข้อมูลและองค์ความรู้(Urban Open Data and Knowledge Management)” จำนวน 4 โครงการ นี้ ประกอบด้วย

          โครงการที่ 3 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 3 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “เครื่องมือบริหารโครงการเพื่อ พัฒนาเชิงพื้นที่” โดย นายส่งศักดิ์ ฉัตรชูสกุล บริษัท ไซเอนทิฟิก เทรดดิ้ง รีเสิร์ช จำกัด หัวหน้าโครงการวิจัย

          โครงการที่ 4 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 5 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนากลไกการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน” โดย นางสุมาลี สุวรรณกร บริษัท สินไซโมเดล จำกัด หัวหน้าโครงการวิจัย

          โครงการที่ 5 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 4 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนา Platform ข้อมูลเมือง อัจฉริยะยกระดับเมืองอย่างยั่งยืน” โดย ผศ.ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หัวหน้าโครงการวิจัย

          โครงการที่ 6 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 4 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “ระบบการสำรวจข้อมูลทางสังคม เพื่อยกระดับการพัฒนาท้องถิ่น” โดย รศ.ดร.ผทัยรัตน์ ภาสน์พิพัฒน์กุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการวิจัย

การนำเสนอรายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 กรอบการวิจัย กลไกด้านการพัฒนาความร่วมมือทางสังคมของเมือง (Urban Collaboration and Institution Arrangement)  จำนวน 2 โครงการ นี้ ประกอบด้วย

          โครงการที่ 7 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 3 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง  “การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ชุมชนดอยม่อนแจ่ม ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่”                             โดย ผศ.ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หัวหน้าโครงการวิจัย

          โครงการที่ 8 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 6 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาข้อเสนอแผนการพัฒนาสกลนครสู่เมืองน่าอยู่” โดย นายแพทย์สมบูรณ์ จิระวัฒนาสมกุล บริษัทประชารัฐรักสามัคคีสกลนคร (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด หัวหน้าโครงการวิจัย

การนำเสนอรายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 กรอบการวิจัย กลไกด้านนโยบายและแผนพัฒนาของเมือง (Urban Policy and Planning) จำนวน 2 โครงการ นี้ ประกอบด้วย

          โครงการที่ 9 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 3 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง  “การสังเคราะห์ความรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมืองท่าและระเบียงเศรษฐกิจทางทะเลของประเทศไทย” โดย ผศ.ดร.จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร วิทยาลัยเซาสท์อีสต์บางกอก หัวหน้าโครงการวิจัย

          โครงการที่ 10 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 4 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาพื้นที่เชื่อมต่อ (Platform) สำหรับการตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยในระดับเมือง” โดย ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการวิจัย

สำหรับวันศุกร์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566

การนำเสนอรายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 กรอบการวิจัย กลไกด้านการพัฒนาข้อมลูและองค์ความรู้ (Urban Open Data and Knowledge Management) จำนวน 3 โครงการ นี้ ประกอบด้วย

โครงการที่ 11 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 4 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “การยกระดับการพัฒนาท้องถิ่น ด้วยกลไกความรู้และความร่วมมอืระดับประเทศ” โดย นายอุดร ตันติสุนทร มูลนิธสิ่งเสรมิการปกครองท้องถิ่น หัวหน้าโครงการวิจัย

          โครงการที่ 12 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 6 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “การนำข้อมูลสนเทศการจัดสรรงบประมาณภาครัฐเชิงพื้นที่เพื่อเป็นความรู้และสื่อสารสาธารณะ” โดย ศ.ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์                   สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSEI) หัวหน้าโครงการวิจัย

          โครงการที่ 13 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 4 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “การจัดระบบนิเวศความรู้ของเมืองแห่งการเรียนรู้” โดย นายพรชัย จันทร์ถาวร  มูลนิธิเพื่อการศึกษาจังหวัดขอนแก่น ครบ 200 ปี พ.ศ. 2540 หัวหน้าโครงการวิจัย

การนำเสนอรายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 กรอบการวิจัย กลไกด้านนโยบายและแผนพัฒนาของเมือง (Urban Policy and Planning) จำนวน 7 โครงการ นี้ ประกอบด้วย

โครงการที่ 14 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 4 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “เมืองแฮคได้: แพลตฟอร์ม การเรียนรู้ร่วมกันสำหรับการออกแบบสภาพแวดล้อมเมือง”  โดย ผศ.ดร.สักรินทร์  แซ่ภู่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง หัวหน้าโครงการวิจัย

          โครงการที่ 15 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 4 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “ที่อยู่อาศัยที่เป็นธรรมโดยกลไก ความร่วมมือเชิงสถาบันที่ครอบคลุม: การสร้างสมดุลใหม่ทางเศรษฐกิจ-ผู้คน-การอยู่อาศัยผ่านโอกาส จากการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรางคู่” โดย ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์  มหาวิทยาลัยศรีปทุม                           หัวหน้าโครงการวิจัย

          โครงการที่ 16 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 4 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “การศึกษาและพัฒนา กะรนเพื่อกระตุ้นการลงทุนเศรษฐกิจสขุภาพ” โดย นายก้าน ประชุมพรรณ์  บริษัทอันดามันพัฒนาเมือง จำกัด                 หัวหน้าโครงการวิจัย

          โครงการที่ 17 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 4 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “ระบบการจัดการความรู้ของหมอ พื้นบ้านเพื่อพัฒนาความสุขสมบูรณ์ในระดับพื้นที่” โดย ผศ.ดร.สมชาย สุริยะไกร  มหาวิทยาลัยขอนแก่น                    หัวหน้าโครงการวิจัย

โครงการที่ 18 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 4 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนและการยกระดับพื้นที่จังหวัดสระบุรีสู่การสร้างมาตรการส่งเสริมการลงทุน “อุตสาหกรรมความ มั่นคงทางอาหาร” หรือ “หุบเขาอาหาร” ของประเทศไทย” โดย นายนพดล ธรรมวิวัฒน์  บริษัท สระบุรี                พัฒนาเมือง จำกัด  หัวหน้าโครงการวิจัย

          โครงการที่ 19 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 4 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “การสร้างกลไกทางการเงินใหม่เพื่อยกระดับและเพิ่มการกระจายตัวของเศรษฐกิจสีเขียวในระดับพื้นที่” โดย รศ.ดร.ไกรเลิศ ทวีกุล  มูลนิธิร่วมพัฒนาชนบทไทยอาเซียน  หัวหน้าโครงการวิจัย

          โครงการที่ 20 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าระยะ 4 เดือน โครงการวิจัย เรื่อง “การศึกษากลไกการทำงานของการสร้างเมืองคริปโตของประเทศไทย พื้นที่นำร่อง จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดระยอง จังหวัดขอนแก่น” โดย นพ.สิทธิชัย เหลืองกิตติก้อง  บริษัทสยามดีแอพ (ประเทศไทย) จำกัด หัวหน้าโครงการวิจัย

          ทั้งนี้ภายหลังจากที่นักวิจัยได้มีการนำเสนอ และตอบข้อซักถามของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้เชี่ยวชาญต่างได้ให้ข้อเสนอแนะ และข้อสรุปในการจัดการเพื่อเข้าสู่กระบวนการต่อไปด้วย