รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ OPSCD COLA KKU เป็นผู้แทน บพท.เข้าร่วมการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ IRURP 2023

ผู้อำนวยการหน่วย บพท. มอบหมาย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติและร่วมยินดีในงานแถลงข่าวการจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 1st International Reinventing University Roadmap for Phenomics (IRURP) Symposium 2023

ด้วยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับทางศูนย์ฟีโนมหาวิทยาลัย ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ ในหัวข้อ The 1st International Reinventing University Roadmap for Phenomics Symposium 2023 ในวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566  เวลา 08.30 – 18.30 น.  ณ อาคารอำนวนการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทาลัยขอนแก่น เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางชีววิทยาระบบและการศึกษาข้อมูลแบบแผนเมแทบอลิซึม และเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับฟังปาฐกถาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความร่วมมือด้านงานวิจัย ด้วยความสำคัญดังกล่าว ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จึงได้มอบหมายให้ รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ บพท. เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ IRURP 2023 ในนามผู้แทนผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ พร้อมมีทีมสนับสนุน โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองท้องถิ่น RDC ลงพื้นที่จริงร่วมรับฟังการนำเสนอภาพรวมความก้าวของงานวิจัยด้านชีววิทยาด้วย

         สำหรับการประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ IRURP 2023 นั้นได้มี การปาฐกถาให้ความรู้ประเด็น “ฟิโนมิกส์” ด้วยว่า คือ ศาสตร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์การแสดงออกของยีนจากการตอบสนองต่อการกระตุ้นจาก สิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น การรับประทานอาหาร ยา เครื่องดื่ม รูปแบบการดำรงชีวิต ความเครียด โรคภัย ฯลฯ ผ่านการตรวจวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต เช่น อาร์เอ็นเอ (RNA) โปรตีน และ สารเมแทบอไลต์(Metabolite) หรือสารขนาดเล็กที่เกิดขึ้นจากกระบวนกภายในเซลล์ ด้วยเทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูง ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงแบบแผนการเปลี่ยนแปลงของสารต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับสุขภาวะที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะต่าง ๆ กลุ่มเสี่ยง และคนปกติ ซึ่งสามารถให้เป็นข้อมูลแบบแผนการเปลี่ยนแปลงของสารดังกล่าวประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ได้นอกจากนี้ฟีโนมิกส์ยังสามารถถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการกระบวนการประกันคุณภาพ (Quality Assurance) และการควบคุมคุณภาพ (QualityControl) ของการคัดสรรวัตถุดิบทางการเกษตร การผลิตและแปลรูปอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมยา เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์ที่สามารถตรวจสารหลายชนิดได้ภายในครั้งเดียว อีกทั้งยังให้ความแม่นยำสูง ความคลาดเคลื่อนน้อย และต้นทุนต่ำ 

         โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมาได้นำเอาเทคโนโลยีฟีโนมิกส์มาใช้และให้บริการ วิชาการแก่นักวิจัยทั้งภายในและภายนอก โดยการดำเนินงนของห้องปฏิบัติการพีโนมนานาชาติแห่ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการทำงานวิจัยและการบริการวิชาการทางด้านฟิโนมิกส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่ 12 มกราคม 2566 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศูนย์ฟิโนมมหาวิทยาลัย ขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ และสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี ได้ร่วมกันจัดงานแถลงข่าว งานประชุมสัมมนา นานาชาติพลิกโฉมมหาวิทยาลัยด้านฟิโนมิกส์ ครั้งที่ 1 (The 1st International Reinventing University Roadmap for Phenomics Symposium หรือ IRURP Symposium) และ การอบรมหลักสูตรระยะสั้น ด้านเมแท่โบโลมิกส์ทางคลินิกและสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ รุ่นที่ 5 (Short Course in Clinical and Natural Product Metabolomics #5 หรือ CliNaP-M) โดยมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมเสวนาและให้สัมภาษณ์ นำโดย รองศาสตราจารย์ นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ศาสตราจารย์ ดร. มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา รองศาสตราจารย์ พญ. วิมลรัตน์ ศรีราช รองคณบดีฝ่าย วิจัยและวิทศสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ ลอยลม รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จุฑารพ เพชระบูรณิน ประธานคณะกรรมการขับ- เคลื่อนการทำงานวิจัยและการบริการวิซาการทางด้านโนมิส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งงานดังกล่าวจะถูก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

         ยิ่งไปกว่านั้นภายในงานแถลงข่าวได้จัดให้มีการเสวนาในหัวข้อ เทคโนโลยีฟีโนมิกส์กับการขับเคลื่อนงานวิจัยและ นวัตกรรมของประเทศไทย รองศาสตราจารย์ นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยชอนแก่น มีวิสัยทัศน์ในการมุ่งเน้น ความสามารถและการพัฒนางานวิจัย ซึ่งเน้นไปที่กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง โดยมุ่งหวังให้การพัฒนานี้ทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นที่รู้จักในระดับโลก เพราะเราเชื่อว่ามหาวิทยาลัยที่ดีต้องสามารถก้าวไปสู่ระดับสากลได้ ในด้านที่ตัวเองเชี่ยวชาญ และกล่าวเพิ่มเติมว่าทางมหาวิทยาลัยมองว่าศาสตร์ ความรู้และเทคโนโลยีทางด้าน พีโนมิส์ เป็นอีกศาสตร์ที่เข้ามามีบทบาทในโลกปัจจุบัน และเชื่อว่ามหาวิทยาลัยขอนูแก่นมีศักยภาพในการ ผลักดันให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จัก ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ในด้านฟีโนมิกส์ได้ ดังนั้นจึงได้เกิดการจัดงาน ประชุมวิชาการครั้งนี้ขึ้น เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวสู่ระดับนานาติในด้านฟีโนมิกส์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

         สำหรับแนวทางและการสนับสนุนการทำงานวิจัยของฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษาเพื่อสอดรับกับโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน BCG ของประเทศนั้น ศาสตราจารย์ ดร. มนต์ชัย ดวงจินดา กล่าวว่า BCG หรือ Bi๐- Circular-Green Economy เป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ นวัตกรรม ไปยกระดับความสามารถในการแข็งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วย อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ ศาสตราจารย์ ดร. มนต์ชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ดังนั้นแนวทางการ สนับสนุนการทำงานวิจัยของฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษาเพื่อให้สอดรับกับโมเดล BGC ของประเทศ เป็นการ สนับสนุนการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งก็คือศาสตร์หรือเทคโนโลยีฟีโนมิกส์ เข้าไปประยุกต์ ใช้ในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาอาหารเฉพาะบุคคลหรืออาหารฟังก์ชัน รวมไปถึง การ QA และ QC ผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร หรือทางด้านอุตสาหกรรมสุขภาพ

         อนึ่ง มุมมองของคณะแพทยศาสตร์ต่อการนำเทคโนโลยีฟีโนมิกส์มาใช้ในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยนั้น รองศาสตราจารย์ พญ. วิมลรัตน์ ศรีราช รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ กล่าวว่า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดขอนแก่น ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและที่รู้จักกันดีคือปัญหาของโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งปัจจุบันทางสถาบันวิจัยมะเร็ง น้ำดีคณะแพทยศาสตได้มีการนำเทโนโลยีโนมิกส์มาใช้ในกาศึกษามะเร็งท่อน้ำดีในแง่มุมต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีฟีโนมิกส์ในการค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่ใช้ในการจำแนก 1) ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี 2) กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งท่อน้ำดี และ 3) คนปกติ ออกจากกัน รวมไปถึงการการศึกษาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ ต่อการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดในคลินิกของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี และการเกิดซ้ำ (Recurrence) ของผู้ป่วย งท่อน้ำดีอีกด้วย ปัจจุบันได้มีกาขยายขอบเขตการใช้เทคโนโลยีทางฟีโนมิกส์เพื่อการแพท โรคอื่น ๆ เช่น การพัฒนาวิธีตรวจวัดตัวบ่งขี้ทางคลินิกที่มีความแม่นยำและจำเพาะสูงต่อโรคหัวใจและหลอด เลือด โดยตรวจวัดระดับของสาร Trimethylamine N-oxide (TMAO)” รองศาสตราจารย์ พญ. วิมรัตน์ เสริมว่า “จากความสำเร็จข้างต้น ทางคณะแพทย์จึงเห็นว่าการผลักดันการ เสริมสร้างความรู้และใช้ทคโนโลยีทางด้านฟิโนมิกส์เพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างและพัฒนาการสาธารณสุข มูลฐานของประเทศไทย การตรวจวินิจฉัย ติดตาม และแปลผลโรคอื่น ถือเป็นวาระสำคัญที่จะขยายผลการใช้เทคนโลยีดังกล่าวสู่การพัฒนาการรักษา ๆ ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของไทย เช่น โรคระบบต่อมไร้ท่อ โภชนาการ เมแทบอลิซึม โรคมะเร็งและเนื้องอกชนิดต่าง ๆ โรคระบบหายใจ และโรคระบบทางเดินอาหาร และตับอีกด้วย

         ในส่วนของสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดีนั้น นับว่าเป็นหน่วยงานแรกที่ได้ริเริ่มการนำเทคโนโลยีฟีโนมิกส์ เข้ามาใช้ในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ตั้งแต่การส่งบุคลากรไปศึกษาต่อ ระดับปริญญาเอก จัดหาโอกาสการได้รับจัดสรรและเข้าถึงครุภัณฑ์วิจัยชั้นสูง และเป็นหน่วยงานพี่เลี้ยงที่มีส่วน ร่วมหลักในการจัดตั้งศูนย์ฟีโนมิกส์มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการนำของ ศาสตราจารย์ นพ. ณรงค์ ขันตีแก้ว อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี “เนื่องจากในปัจจุบันทั้งการเกษตร อาหาร และการรักษาทาง การแพทย์ มีแนวโน้มเข้าสู่รูปแบบที่เป็นเฉพาะบุคคลมากขึ้น ทั้ง Personalized Nutrition Personalized Medicine และผลิตภัณฑ์อาหารที่อยู่ในรูปข่องอาหารฟังก์ชันมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ตอบโจทย์กับการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของ ประเทศไทยรวมถึงในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งยังมีโรงเรียนแพทย์ คณาจารย์ และนักวิจัยผู้มี ความเชี่ยวชาญพร้อมอยู่แล้ว ขวกกับครุภัณฑ์วิจัยชั้นสูง จึงมีความพร้อมเป็นอย่างมากในการจัดตั้งศูนย์ฟิโนม มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเน้นการประยุกต์ใช้ศาสตร์โนมิกส์เพื่อการผลิต ตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพ ทั้งในการเกษตร การอาหารและการแพทย์ที่มีความจำเพาะต่อบุคคล เพื่อประโยชน์ต่องานวิจัยหรือในเชิง พาณิชย์ในระดับอุตสาหกรรมในอนาคต” รองศาสตราจารย์ ดร. วัชรินทร์ ลอยลม รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดีกล่าว

         ศูนย์ฟีโนมิกส์มหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น จัดว่าเป็นหน่วยงานหลักที่พัฒนาและขับเคลื่อนการใช้ เทคโนโลยีฟีโนมิกส์เพื่อการวิจัยและการบริการวิชาการให้แก่นักวิจัย ผู้ประกอบการ นักศึกษา หน่วยงานทั้งภาค รัฐและเอกชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จุฑารพ เพชระบูรณิน ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการทำงานวิจัย และการบริการวิชาการทางด้านฟีโนมิส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า พันธกิจหลักของศูนย์ฟีโนมิกส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ

1) การขับเคลื่อนการทำงานวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมของ นักวิจัยและนวัตกรไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยการให้บริการตรวจวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของฟีโนมิกส์แต่ละระดับ

2) การพัฒนากำลังคนสำหรับกรวิจัยและนวัตกรรมด้านฟีโนมิกส์ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรระยะ สั้น และการศึกษาหลังปริญญาที่จะผลิตบุคลากรที่มีความพร้อมสู่ตลาดแรงงาน

3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับ ภาคอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนบนพื้นฐานความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม

4) ประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายทั้งระดับชาติและนานาชาติในการขับเคลื่อน และ สิ่งแวดล้อม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จุทารพ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับงาน วิจัยและบริการวิชาการทางด้านโนมิกส์  IRURP Symposium และ CliNaP-M ในครั้งนี้เป็นอะไรที่พิเศษมาก ๆ เนื่องจากเราได้รับเกียรติอย่างมากจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิโนมิกส์ระดับโลกมาเป็นวิทยากรกิตติมศักดิ์ถึง 3 ท่าน คือ Professor Jeremy Nicholson ตำแหน่ง Director of Australian National Phenome Centre และ Pro-Vice Chancellor for Health Murdoch University และ Professor Elaine Holmes ตำแหน่ง Head of the C Computational and Systems Medicine, Murdoch University ประเทศออสเตรเลีย และ Dr. Jia Li ตำแหน่ง er of Biological Chemistry, Faculty of Medicine, Imperial College London สหราชอาณาจักร ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ ที่เราจะได้แลกเปลี่ยนเยนรู้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านในงานนี้

         ในช่วงท้ายของการประชุม รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังได้ทิ้งท้ายว่า นับว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นของเราจะได้ต้อนรับ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกทั้ง 3 ท่าน ในการพลิกโฉมหาวิทยาลัย ด้านฟิโนมิกส์ ที่จัดโดยทีมงานศูนย์ฟีโนมิกส์ม มหาวิทยาลัยขอนแก่นและภาคีเครือข่ายทางวิชาการด้วย