หลักสูตรฝึกอบรม “นักวางแผนข้อมูลเมือง” เชิญนักวิจัยประจำศูนย์ OPSCD COLA KKU ให้บริการเป็นที่ปรึกษาให้กับเมืองด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และหาแนวทางการจัดหาทุนดำเนินการพัฒนาเมือง

หลักสูตรฝึกอบรม “นักวางแผนข้อมูลเมือง” เชิญนักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU ให้บริการเป็นที่ปรึกษาให้กับเมืองด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และหาแนวทางการจัดหาทุนดำเนินการพัฒนาเมือง

           ด้วย ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU ให้บริการเป็นที่ปรึกษาให้กับเมือง จังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย และต่างประเทศด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และหาแนวทางการจัดหาทุนดำเนินการพัฒนาเมือง

            วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 9.00น. – 12.00น. รศ.ดร. ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ และเป็นนักวิจัยประจำหน่วยงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น   จึงได้รับเชิญจากหลักสูตรฝึกอบรม “นักวางแผนข้อมูลเมือง” ให้เป็นวิทยากร บรรยายในหัวข้อ“ตัวอย่างโครงการเมืองอัจฉริยะที่ได้รับการสนับสนุน โดย บพท.” ให้กับผู้เข้ารับการอบรมของหลักสูตรฝึกอบรม “นักวางแผนข้อมูลเมือง” (ครั้งที่ 10) ผ่านระบบ zoom meeting ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของการเปิดศักราชใหม่ในการเริ่มต้นของปี 2566 ของหลักสูตรด้วย

            โดยสาระสังเขปของการบรรยายในครั้งนี้นั้น รศ.ดร. ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ได้มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมการอบรมรู้จักถึง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ก่อนว่าเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อระดับประเทศในการปฏิรูปโครงสร้างของประเทศ รวมถึงมีการนำงบประมาณในการวิจัยของประเทศมาใช้ในการพัฒนาพื้นที่ มีวัตถุประสงค์ในการมุ่งเน้นการสร้างเมืองที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ และเพื่อเป็นการกระจายอำนาจและลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทย รวมทั้งมุ่งสร้างการปรับตัวในการพัฒนาเมืองของประเทศให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ปลอดภัยเติบโตได้อย่างยั่งยืน 

            และเน้นย้ำว่าการขับเคลื่อนเมืองไม่ใช่บทบาทของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคราชการ และภาคส่วนต่าง ๆ แต่ทว่าส่วนที่สำคัญที่สุด คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  โดยเฉพาะเทศบาลที่ทำหน้าที่ดูแลในส่วนของเมือง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ จึงเล็งเห็นความสำคัญของการยกระดับด้วยข้อมูล องค์ความรู้ และความร่วมมือระดับประเทศ เป็นปฏิบัติการบนฐานงานวิจัยเพื่อค้นหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาส่วนต่าง ๆ และการเรียนรู้ในวันนี้นั้นจะนำมาซึ่งการพัฒนาที่เห็นโอกาสและศักยภาพมาเป็นโครงการในการพัฒนาต่อ

            นอกจากนี้ รศ.ดร. ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงสิ่งสำคัญในการเขียนโครงการวิจัยว่า จะต้องให้ความสำคัญถึงแพลตฟอร์ม ซึ่งในการอบรมหลักสูตร “นักวางแผนข้อมูลเมือง” (ครั้งที่ 10) นี้จัดอยู่ในแพลตฟอร์มที่ 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ และอยู่ในโปรแกรมที่ 15 การพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ของ บพท.ด้วย เนื่องจาก บพท.มีแผนงานหลัก คือการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่กลไกพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างความเจริญและลดความเหลื่อมล้ำ และขอให้คำนึงถึงหลักการและเหตุผลในการนำไปสู่การยกระดับในครั้งนี้ เพราะเป็นส่วนที่มีความสำคัญใน การนำไปปรับใช้ให้ข้อมูลที่มีอยู่เกิดคุณค่าและมีการสร้างมูลค่าได้ โดยจะต้องจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม งบประมาณ การจัดการขยะ และแนวทางในการพัฒนาแพลตฟอร์มเมืองให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันสิ่งสำคัญที่หน่วยงานที่ต้องการขอทุนต้องให้ความสำคัญคือหน่วยงานร่วมที่ให้การสนับสนุนในรูปแบบการเงินและกำลังคน

ทั้งนี้ในการเขียนโครงการวิจัยขึ้นมาไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกังวลถึงความเรียบร้อยและรูปแบบการเขียน เนื่องจากเป็นการเขียนที่ใช้องค์ความรู้และต้องมีการกลั่นกรอง รวมถึงสามารถที่จะปรับปรุงใหม่ได้สม่ำเสมอ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท. และศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น OPSCD COLA KKU จะทำหน้าที่สนับสนุนในการทำงานวิจัยอย่างเสมอ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่อง ทั้งนี้ขอเพียงแค่มีองค์ประกอบสำคัญในการขอทุนให้อย่างครบถ้วนเพียงพอ และเป็นนิติบุคคลที่สามารถขอทุนได้ ซึ่งจากโครงการนี้จะทำให้เห็นว่าเทศบาลนั้นเป็นนิติบุคคลอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสอย่างหนึ่งที่จะสามารถนำขอทุนเพื่อพัฒนาท้องถิ่นได้