OPSCD KKU. นำทีม ARV ผู้นำด้านการพัฒนาและให้บริการเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ของไทย ภายใต้กลุ่ม ปตท.สผ เดินหน้าสร้างความร่วมมือกับ ศูนย์ปฏิบัติการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการสนับสนุนจากหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ลงนามความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมโครงการหรือกิจกรรมด้านการพัฒนาเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ด้วยกลไกความร่วมมือ เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์ Platform Digital ข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform: CDDP) เพื่อยกระดับยกระดับเมืองและท้องถิ่นไทยให้เป็นเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่

ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (OPSCD KKU) ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ กรอบการวิจัยยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ร่วมกับเครือข่าย อย่างบริษัท AI and Robotics Ventures ศูนย์ปฏิบัติการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ และวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการยกระดับเมืองและท้องถิ่นไทยให้เป็นเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ด้วยกลไกความร่วมมือ เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์ ขึ้น ในวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมอวานี จังหวัดขอนแก่น โดยมีเป้าประสงค์เพื่อยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นด้วยกลไกความรู้ ความร่วมมือ เทคโนโลยี ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานสู่ดิจิทัลอย่างเหมาะสม พร้อมเชิญผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกระดับ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบลเข้าร่วม
โดยในพิธีเปิดนั้น ได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเปิด อันมีสาระโดยสังเขปดังนี้ “มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะที่เป็นองค์กรภาคีเครือข่าย ที่ร่วมทำงานอยูใช้กลไกการจัดการ การพัฒนาของท้องถิ่น สนับสนุนส่งเสริมการขับเคลื่อน และพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ มาอย่างยาวนานได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านกลไกความร่วมมือ เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยผ่านกลไกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีคิด บทบาทและโครงสร้างความสัมพันธ์ของภาคส่วนต่าง ๆ ไว้ให้สามารถประสานความร่วมมืออย่างมีวิสัยทัศน์ร่วมกันได้ ของกลไกการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความยินดีและพร้อมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อพัฒนาประเทศไทยในทุกระดับสมน้ำปณิธานมหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม”
จากนั้น คุณวีระวัฒน์ รัตนวราหะ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวรายงานการจัดกิจกรรมต่อว่า “ผมเชื่อว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือหัวใจของอนาคตประเทศไทย แต่การกระจายอำนาจไม่ใช่เพียงแค่การถ่ายโอนภารกิจเพียงอย่างเดียวแต่ต้องเป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจและประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น และบทบาทของเทศบาลต้องก้าวพ้นไปไกลกว่าการบริการพื้นฐานให้กับประชาชนในท้องถิ่น แต่ต้องมองด้วยว่าอนาคตเราจะพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นได้อย่างไร รายการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นนั้นต้องไปให้ไกลกว่าการท่องเที่ยว ซึ่งการท่องเที่ยวสำคัญแต่ต้องมองข้ามไป ว่าจะการท่องเที่ยวทำอะไรได้ต่อไป ต้องก้าวให้ไกลมากกว่า OTOP และแน่นอนว่า OTOP สามารถ พัฒนาได้ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ จะเข้ามาช่วยการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นได้อย่างไร ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่เจริญต่อจากนี้ไปไม่ได้ถ้าไม่มีการกระจายอำนาจโดยที่ให้ท้องถิ่นแล้วเมืองที่อยู่ในท้องถิ่นมาเป็นแรงผลักดัน และเทศบาลต้องแสดงบทบาทสำคัญที่มากกว่าการจัดการบริการพื้นฐาน ต้องมียุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งต้องร่วมกับภาคเอกชนในการพัฒนาท้องถิ่น สิ่งสำคัญคือต้องอยู่ในโครงสร้างธุรกิจสีเขียวและโครงสร้างพื้นฐานดิจิตอล”
ด้านนายสุเทพ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้ให้เกียรติมากล่าวเปิดงาน โดยมีใจความสังเขปดังนี้ “การพัฒนาแบบ Top Down ทำให้ประเทศไทยไปไหนมาไหนไม่ได้ก้าวหน้าได้เพียงไม่กี่ก้าว แต่การปฏิรูประบบราชการแล้ววางแผนใหม่จาก Top Down ให้กลายมาเป็น bottom up นั้นคือการให้ประชาชนในพื้นที่คิด และทำ การพัฒนาบางเรื่องต้องพัฒนาแบบกลับหลังจึงจะทำให้ประชาชนอยู่รอดได้ นั่นคือการพัฒนาด้านการเกษตร ในขณะเดียวกันด้านการพัฒนาท้องถิ่น ก็พยายามที่จะใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงานให้ง่ายต่อการใช้บริการของประชาชน เช่นการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อให้ง่ายต่อการจ่ายภาษีหรือจ่ายค่าปรับต่างๆ ขอบคุณทีม ARV ที่คิดค้น platform ดีๆ และขอบคุณ ช ทวี ขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาขอนแก่นทั้งเมืองให้เป็นเมือง Smart City”
ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีเปิดได้มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมโครงการหรือกิจกรรมด้านการพัฒนาเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ด้วยกลไกความร่วมมือ เทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์ Platform Digital ข้อมูลเมือง (City Digital Data Platform: CDDP) ระหว่าง บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด และเทศบาลนครขอนแก่น เพื่อนำผลจากการศึกษาวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเมืองมาเป็นส่วนประกอบในการคาดการณ์ วางแผนติดตามผล และแก้ไขปัญหาต่างๆของเมืองอันจะนำมาสู่การมีข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย อยู่ในรูปแบบที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในยามปกติและยามฉุกเฉิน บรรเทาผลกระทบ และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ ภาค และเมืองอย่างยั่งยืนในระยะยาวให้กับประเทศไทย
และต่อเนื่องด้วยกิจกรรมบรรยายพิเศษ เรื่อง “การสร้างเมืองชาญฉลาดน่าอยู่ที่เป็นไปได้” โดย นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น กล่าวว่า “ภายใต้ความคิดเดิม มีความคิดที่ว่า เมืองเปลี่ยนต้องพึ่งพารัฐบาล โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ตามมาคือประชาชนมีความต้องการมากขึ้น มีการตอบสนองที่รวดเร็ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่หลักคือการบริการประชาชนตั้งแต่เกิดยันตาย แต่ขีดความสามารถในการตอบสนองอย่างรวดเร็วมีมากน้อยแค่ไหน เทศบาลนครขอนแก่นรอกำหนดวิสัยทัศน์พัฒนาเมืองสู่สากลสร้างสังคมแห่งความสุข ในคำว่าเมืองสู่สากลเป็นโจทย์ที่หนักมาก เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าต้องเอามาตรฐานแบบใดมาวัด คำว่าสากลของเราเองในปัจจุบันเทียบเคียงกับสิ่งที่มีอยู่แล้วยกตัวอย่างเช่น Smart City รัฐบาลกำหนดมา 7 รูปแบบ แต่สไตล์ของเทศบาลนครขอนแก่นต้องปรับ เนื่องจากบริบทของเราไม่จำเป็นต้องเหมือนกับความเป็นสากลอย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ สมาร์ทซิตี้จะไม่มีวันเกิดถ้าประชาชนไม่สมาร์ทด้วย ถ้าประชาชนไม่เข้าใจ ไม่มีโอกาสไม่มีส่วนร่วมในการที่จะคิดร่วม ตัดสินใจร่วม ทำร่วม และรับผลประโยชน์ร่วม สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงต้องจัดอันดับ Smart People เป็นอันดับ 1 ”
จากนั้น ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการกลุ่มงานโครงการพิเศษและศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม บรรยายพิเศษหัวข้อ “Smart City กลวิธีลดความเหลื่อมล้ำ” และต่อด้วยการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนาท้องถิ่น” โดย ศ.ดร. ศาสตรา วงศ์ธนวสุ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และการบรรยายพิเศษของ ดร.จักรพันธ์ จุลโพธิ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ในหัวข้อ “ท้องถิ่น 4.0 : ท้องถิ่นในฐานะ platform ”
และปิดท้ายกิจกรรมภาคเช้าด้วยการเสวนา “การขับเคลื่อนเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ ผ่านกลไกลความร่วมมือ การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์” โดย รศ.ดร. รวี หาญเผชิญ กรรมการ Smart City Operation Center (SCOPC) นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ และนายวีระวัฒน์ รัตนวราหะ entrepreneur in residence commercial บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด โดยการเสวนาได้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองการพัฒนาเมืองของจังหวัดขอนแก่น smart city เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กล่าวว่า “เมื่อพูดถึงคำว่า Smart City ทุกคนอาจจะนึกถึงว่ามันต้องมีคอมพิวเตอร์ มีเมืองทันสมัย แต่ในความเป็นจริงแล้ว Smart City คือมันธรรมดาที่มีการจัดการด้วยเทคโนโลยี และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ขณะเดียวกันคำว่าเมืองน่าอยู่ ของแต่ละท่านอาจจะมีความหมายไม่เหมือนกัน แต่ความน่าอยู่จริง ๆเป็นเพียงอย่างเช่น อากาศดี ไม่มีขยะ การคมนาคมขนส่งสะดวก ” รศ.ดร. รวี หาญเผชิญ กล่าวต่อในประเด็น มุมมองเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลบริหารเมืองว่า “แต่เดิมข้อมูลมีหน้าที่เป็นฐานข้อมูลให้หน่วยงาน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเมือง เพื่อนำข้อมูลไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในเมือง และเพื่อการนำมาวิเคราะห์ให้เห็นภาพ เพื่อการตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำ ขณะเดียวกันประชาชนก็สามารถใช้ข้อมูลเพื่อเรียนรู้เมืองร่วมกันกับเราได้ เราจึงจำเป็นต้องทำให้ข้อมูลเป็นข้อมูลเปิดด้วยเพื่อให้ทุกคนสามารถเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ทุกมิติ แต่ข้อมูลจะเป็นประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อทุกคนใช้ข้อมูลเป็น ฉะนั้นแพลตฟอร์มที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายจะเป็นตัวช่วยที่สำคัญมาก ”
จากนั้นในช่วงบ่ายได้มีการจัดกิจกรรม workshop Design Thinking for livable and Smart City โดย รศ.ดร. ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นักวิจัยประจำศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ ฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยนวัตกรรม โปรแกรมที่ 15 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร. รวี หาญเผชิญ กรรมการ Smart City Operation Center (SCOPC) และ ดร.จักรพันธ์ จุลโพธิ โดยการแบ่งกลุ่ม เพื่อระดมสมอง จำลองบทบาทสมมุติหากเราเป็นประชาชนผู้ใช้บริการหน่วยงานราชการ ว่าเราจะต้องเผชิญกับปัญหาในการใช้บริการในประเด็นใดบ้าง แล้วเราจะร่วมกันหาทางแก้ไขและสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อเข้ามาช่วยจัดการปัญหานั้นๆได้อย่างไร











